ปฏิทิน

12 กันยายน 2555

Reminders การแสดงผลงานแนวกราฟฟิกดีไซน์

ข่าวทั่วไป หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- พุธที่ 5 กันยายน 2555 00:00:14 น.

        Elizabeth Buchta, Daniela Marx, Tuan Phan สามนักออกแบบกราฟิดีไซน์ที่เป็นที่รู้จักกันในวงการชาวอเมริกัน ร่วมกับ สุธาดา วาดเขียน อาจารย์ภาควิชา นฤมิตรศิลป์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญประชาชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา นักออกแบบ และผู้สนใจทั่วไป เข้าชมนิทรรศการ "Reminder" นิทรรศการแนวกราฟฟิกดีไซน์และอินสตอลเลชั่นแบบเจาะจงพื้นที่ (site-specific installation) ผ่านมุมมองงานกราฟฟิกดีไซน์สุดเฉียบของ Elizabeth Buchta, Daniela Marx, Tuan Phan ที่จะสื่อสารกับเพื่อนและคนใกล้ชิดอย่างเป็นการส่วนตัว ในพื้นที่ สาธารณะ ด้วยแนวคิดที่ว่า ทุกคนสามารถเป็น "เพื่อน" กันได้ นอกจากจะได้ชมลวดลายแปลกใหม่ของงานกราฟฟิกดีไซน์ที่ไม่เหมือนใคร งานศิลป์เหล่านี้ยังช่วยจุดประกายแง่คิดต่างๆ โดยเฉพาะ "คิดในแง่บวก" ให้เกิดขึ้นอย่างงดงาม จัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม-12 กันยายน นี้ ณ ห้องนิทรรศการชั้น 1 ห้อง 3-4 หอศิลป์จามจุรี อาคารจามจุรี 8 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวัน จันทร์-ศุกร์ เวลา 10.00-19.00 น. เสาร์-อาทิตย์ 12.00-18.00 น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ผู้สนใจติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0-2218-3709

กราฟฟิคสำหรับเกมบน iPhone 5 จะเป็นอย่างไร ?

ใกล้ถึงเวลาเต็มทีแล้ว สำหรับการเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ของiPhone รุ่นใหม่ ซึ่งจะมาในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้านี้แล้ว ซึ่งนอกจากเหล่านักพัฒนาจะกำลังง่วนอยู่กับการผลิตแอพที่ใช้งานบนหน้าจอที่ใหญ่ขึ้นได้นั้น ก็ได้มีบริษัทเกมบางแห่งที่ได้ผลักดันตนเองด้วยการพัฒนาเกมที่สามารถเล่นบน iPhone 5 ได้ด้วยเช่นกัน  

...ถามว่าทำไมถึงบอกว่าเป็นเกมบน iPhone 5  เกมบน iPhoneรุ่นก่อนๆ เล่นไม่ได้หรือ ?
...คำตอบคือเล่นได้ครับ แต่ iPhone รุ่นใหม่นี้ไม่ได้ใช้ชิปกราฟฟิคเหมือนอย่างรุ่นก่อนๆ ดังนั้น บริษัทผู้สร้างเกมจึงต้องพัฒนากราฟฟิคของเกมของตนให้อัพเกรดตาม iPhone รุ่นใหม่ด้วยเช่นกัน   และแล้วก็ได้มีบริษัทเกมที่เปิดตัววิดีโอที่เชื่อกันว่ามันคือระดับกราฟฟิคของเกมที่เล่นบน iPhone 5 นั่นก็คือ เกม Ninja Fishครับ ซึ่งเกม Ninja Fish นี้เองสามารถหาโหลดได้จาก App Store  ในวิดีโอชุดนี้แสดงให้เห็นถึงการเล่นเกมด้วยหน้าจอที่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม จากการคาดการณ์ของสื่อหลายๆ แห่ง ว่า iPhone รุ่นใหม่จะมีหน้าตาที่ยาวกว่าเดิมครับ ซึ่งมันจะทำให้ทรรศนะวิสัยของผู้เล่นกว้างขึ้นไปอีก และมั่นใจได้มากขึ้นว่าหน้าจอของ iPhone รุ่นใหม่จะต้องยาวกว่าเดิมแน่นอน  นอกจากเกมแล้ว ทางผู้พัฒนาก็ยังไม่ได้บอกถึงรายละเอียดอื่นๆ ของเจ้า iPhone รุ่นใหม่ให้ทราบกันเลยครับ เรียกได้ว่าเป็นความลับของทางวงในเขานั่นล่ะ  แต่ถึงอย่างไร เราก็มั่นใจได้แล้วล่ะครับ ว่าอีกไม่นานเกินรอ เราก็จะได้ชม iPhone รุ่นใหม่ไปพร้อมๆ กัน

7 กันยายน 2555

แนะนำมหาวิทยาลัย ที่มีเรียน"ด้านกราฟฟิค"

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
URL Address 
http://creativearts.faa.chula.ac.th 


คณะที่เปิดสอน 
คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขานฤมิตศิลป์ เอกเรขศิลป์ ปริญญาตรี 

หลักสูตรการศึกษา 
ศป.บ.(นฤมิตรศิลป์)/Bachelor Of Fine And Applied Arts (B.F.A.) 
                         ............................................................................................................
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
URL Address 
http://fab.bu.ac.th/communication/index.php 

คณะที่เปิดสอน 
ศิลปกรรมศาสตร์ สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ 

หลักสูตรการศึกษา 
ศิลปบัณฑิต (ศป.บ.) / Bachelor Of Fine and Applied Arts (B.F.A.) 
                         ............................................................................................................
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
URL Address 
http://faa.kku.ac.th/index2.html 

คณะที่เปิดสอน 
ศิลปกรรมศาสตร์ สาขานิเทศศิลป์ 

หลักสูตรการศึกษา 
ศิลปบัณฑิต (ศป.บ.) / Bachelor Of Fine and Applied Arts (B.F.A.) 
                          ............................................................................................................
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
URL Address 
http://www.finearts.cmu.ac.th/index2.php 

คณะที่เปิดสอน 
วิจิตรศิลป์ สาขาการออกแบบ 

หลักสูตรการศึกษา 
ศป.บ. (การออกแบบ) /B.F.A. (Design) 
                          ............................................................................................................
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 
URL Address  
http://www.arch.kmutt.ac.th/communication.html 

คณะที่เปิดสอน 
สถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขานิเทศศิลป์ ภาคภาษาอังกฤษ 

หลักสูตรการศึกษา 
B.fA. (Communication DesignX 
                             ............................................................................................................
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
URL Address 
http://www.dpu.ac.th/finearts/about/graphic 

คณะที่เปิดสอน 
ศิลปกรรมศาสตร์ สาขาคอมพิวเตอร์กราฟิก 

หลักสูตรการศึกษา 
ศ.ป.บ. (คอมพิวเตอร์กราฟิก) /B.F.A (Computer Graphic) 
                              ............................................................................................................
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง              website 
http://itschool.mfu.ac.th/page 

คณะที่เปิดสอน 
เทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาเทคโนมัลติมีเดียสร้างภาพเคลื่อนไหว 

หลักสูตรการศึกษา 
วท.บ. (เทคโนโลยีมัลติมีเดียและการสร้างภาพเคลื่อนไหว) /B.Sc. (Multimedia Techology and Animation) 
                              ............................................................................................................
มหาวิทยาลัยบูรพา
http://fineart.buu.ac.th/visualcom.html 

คณะที่เปิดสอน 
ศิลปกรรมศาสตร์ สาขานิเทศศิลป์ 

หลักสูตรการศึกษา 
ศิลปกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชานิเทศศิลป์ / B.F.A (Visual Communication Arts) 

นฤมิตศิลป์ (ครีเอทีฟ อาร์ต)


นักศึกษาในสาขากราฟิคและการออกแบบจะได้เรียนรู้เทคนิคและทักษะที่จำเป็นต่อการออกแบบและผลิตผลงานที่เสร็จสมบูรณ์ แขนงวิชาย่อยของสาขานี้ ได้แก่ กราฟฟิคดีไซน์ การออกแบบและการสร้างสรรค์เสื้อผ้า สิ่งทอ การออกแบบทางอุตสาหกรรมและศิลปะดิจิตอล
กราฟิกดีไซเนอร์จะสื่อสารด้วยภาพและนำเสนอข้อมูลผ่านทางสื่อภาพหลายประเภท เช่น สิ่งพิมพ์ อิเล็กทรอนิกส์ สื่ออินเตอร์เน็ต และการโฆษณา นอกจากนี้ ความต้องการสื่ออินเตอร์แอกทีฟดิจิตอลที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้กราฟิกดีไซเนอร์มักจะทำงานในด้านอนิเมชั่นและเกมด้วย
หลักสูตรในสาขานี้ ได้แก่ ปริญญาตรีศิลปศาสตร์เอกวิชาดิจิตอลอาร์ต สิ่งทอ แฟชั่น การออกแบบกราฟฟิกหรืออุตสาหกรรม ในขณะที่หลักสูตรด้านอาชีวศึกษาและการฝึกอบรม (VET) มีตั้งแต่ระดับประกาศนียบัตรไปจนถึงอนุปริญญาในสาขาแฟชั่นดีไซน์ กราฟฟิกอาร์ต สิ่งทอ และสาขาอื่นอีกหลายสาขา
นอกจากนี้ ท่านยังสามารถเลือกเรียนในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาได้หลายหลักสูตรด้วยกัน ขึ้นอยู่กับว่าท่านเรียนสาขาใดมาในระดับปริญญาตรี โดยนักศึกษาอาจจะเรียนต่อในหลักสูตรปริญญาโทสาขาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ปริญญาโทสิ่งทอหรือแฟชั่นดีไซน์ หรือปริญญาโทด้านกราฟฟิคดีไซน์
นี่เป็นสาขาวิชาที่สถาบันการศึกษาเอกชนถนัด เพราะว่าสถาบันการศึกษาเอกชนมักจะเจาะเน้นที่ความรู้เฉพาะทางเพียงหนึ่งหรือสองสาขา รวมถึงมีห้องวิจัยอันทันสมัยและอุปกรณ์ด้านมัลติมีเดียคุณภาพสูง นอกจากนี้ จำนวนนักเรียนต่อห้องที่ต่ำของสถาบันเหล่านี้ก็ช่วยให้นักศึกษาได้รับความใส่ใจอย่างเต็มที่
สถาบันการศึกษาหลายสถาบันที่มีความสัมพันธ์อันแข็งแกร่งกับอุตสาหกรรม และผู้ประกอบอาชีพในสาขานี้มักจะเปิดให้มีการเข้าฟังการบรรยายและชั้นเรียนภาคปฏิบัติ นี่ทำให้บัณฑิตของเราสามารถศึกษาจบหลักสูตรนี้ด้วยทักษะและประสบการณ์ที่มีมาตรฐานระดับอุตสาหกรรม
บัณฑิตสาขากราฟฟิคดีไซน์สามารถประกอบอาชีพได้มากมายและหลากหลาย การบรรจบกันของสาขาวิชาต่างๆจะทำให้บัณฑิตสามารถหางานทำในสตูดิโอออกแบบ บริษัทสื่อสิ่งพิมพ์ และบริษัทโฆษณาได้ นักกราฟฟิคดีไซน์หลายคนเลือกที่จะเริ่มต้นธุรกิจของตนเองหรือทำงานอิสระ และนี่เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ท่านควรตัดสินใจเรียนปริญญาอื่นควบคู่ไปกับปริญญากราฟฟิคดีไซน์ด้วย โดยปริญญาด้านธุรกิจก็อาจจะมีประโยชน์หากท่านสนใจที่จะเปิดสตูดิโอกราฟฟิคดีไซน์ของท่านเองหรือทำธุรกิจเองในวันหนึ่งข้างหน้า
เชิญใช้ฟังก์ชั่นค้นหา (Search) ของเราเพื่อค้นหาสถาบันในออสเตรเลียที่เปิดสอนหลักสูตรการศึกษาในสาขาวิชานี้

แนะนำเรียนต่อทางด้านดีไซด์ กับสถาบันสถาบันออกแบบ

          คงไม่มีใครที่จะปฏิเสธว่าการเรียนทางด้านดีไซด์นั้นสามารถสร้างรายได้ให้กับเราได้อย่างจริงจัง หรือพูดกันง่ายๆ ก็คือ การเรียนทางด้านดีไซด์นั้น ทำให้เราไม่ตกงาน คำพูดเหล่านี้จะเป็นจริงหรือไม่ หากแต่มันเป็นแค่เพียงคำพูดลอยๆ ของคนเพียงบางกลุ่มเท่านั้น 
          เราสามารถพิสูจน์คำตอบนี้ได้กับสถาบันการออกแบบนานาชาติราฟเฟิลส์ สถาบันที่ผลิตดีไซด์เนอร์มืออาชีพเข้าสู่ตลาดแฟชั่นในเมืองไทย ราฟเฟิลส์เป็นสถาบันทางด้านการออกแบบแห่งแรกในประเทศไทยที่เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนทางด้านดีไซด์เป็นภาษาอังกฤษ หลักสูตรที่เปิดสอนของสถาบันแห่งนี้ ได้แก่ หลักสูตรปริญญาตรีทางด้านการออกแบบ และหลักสูตรปริญญาตรีทางด้านการบริหารธุรกิจในเชิงพานิชย์ มีสาขาที่เปิดสอนทั้งหมด 11 สาขาด้วยกัน อาทิ 

1. สาขาวิชาการออกแบบแฟชั่น (Fashion Design)  เป็นหลักสูตรที่จะทำให้ความฝันของคนที่อยากจะเป็นดีไซด์เนอร์ชื่อดังกลับเป็นความจริงขึ้นมา โดยในหลักสูตรนี้จะนำคุณให้ก้าวสู่การเป็นแฟชั่นดีไซด์เนอร์มืออาชีพที่เพียบพร้อมทั้งความสามารถในการออกแบบ การผลิต และการดำเนินธุรกิจ การเรียนการสอนของทางสถาบันจะเน้นการลงมือปฏิบัติจริงเป็นส่วนใหญ่ การค้นหาสไตล์ที่เป็นตัวของตัวเองและความคิดสร้างสรรค์ที่จินตนาการโดยตัวคุณ


2. สาขาวิชาการตลาดและการจัดการธุรกิจแฟชั่น (Fashion Marketing) เป็นหลักสูตรที่จะทำให้คุณเป็นนักธุรกิจผู้เชี่ยวชาญด้านสินค้าแฟชั่น หรือแม้กระทั่งการเปิดดำเนินการธุรกิจด้านแฟชั่นของตัวเอง การเรียนการสอนจะเน้นความเข้าใจในตัวสินค้า ตัวผู้บริโภค และแนวโน้มทางการตลาด รวมถึงการจัดการธุรกิจและการประชาสัมพันธ์สินค้าทางด้านแฟชั่น

3. สาขาวิชาการออกแบบตกแต่งภายใน (Interior Design) สาขานี้เป็นสาขาวิชาซึ่งปัจจุบันเป็นสาขาที่สามารถสร้างรายได้ ได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ เพราะในปัจจุบันการตกแต่งภายในเป็นส่วนสำคัญที่จะเพิ่มเสน่ห์ให้กับสถานที่ต่างๆ อาทิ อาคารบ้านเรือน ร้านค้า ร้านอาหาร โรงแรม ฯลฯ หลักสูตรของราฟเฟิลส์จะทำให้คุณเข้าใจปัจจัยต่างๆ ที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบตกแต่ง ทั้งด้านความสวยงาม วัฒนธรรม และประโยชน์ใช้สอย รวมถึงการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการเป็นมัณฑนาการมืออาชีพในอนาคตอีกด้วย



 4. สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) หากเราเห็นรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่สวยงาม นั่นคือส่วนหนึ่งของวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ รูปแบบที่สวยงามของผลิตภัณฑ์นับเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการแข่งขันทางธุรกิจในปัจจุบัน เพราะเป็นการสร้างมูลค่า และเพิ่มความน่าสนใจในความแตกต่างของสินค้าท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรง ผลงานของนักศึกษาหลักสูตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ราฟเฟิลส์ นอกจากจะมีรูปแบบที่แปลกใหม่สวยงามแล้ว ยังสะท้อนถึงวัฒนธรรม คำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญอีกด้วย


5. สาขวิชาการออกแบบทางด้านกราฟฟิก (Graphic Design) หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรที่ท้าทายความคิดสร้างสรรค์ของผู้ที่มีศิลปะในหัวใจ เพื่อสร้างรูปแบบและแนวคิดใหม่ๆ ในการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น โฆษณา นิตยสาร หนังสือ ป้ายโฆษณา ลวดลายบนบรรจุภัณฑ์ ฯลฯ

6. สาขาวิชาการออกแบบสื่อมัลติมีเดีย (Multimedia Design) สาขานี้เป็นการผสมผสานศิลปะและเทคโนโลยีการผลิตสื่อต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน หลักสูตรจะครอบคลุมทักษะที่จำเป็นในการสร้างสรรค์สื่อ เช่น อนิเมชั่น เว็ปไซต์ การถ่ายทำและตัดต่อวีดีโอ รวมถึงการทำเอ็ฟเฟคภาพยนตร์ด้วย

3. กลุ่มเวียนนาซัคเซสชั่น (Vienna Secession)

  • ซัคเซสชั่นสติล “Sezessionstilเริ่มต้นเมื่อประมาณเมษายน ค.ศ. 1896 เกิดขึ้นเมื่อกลุ่มนักออกแบบส่วนหนึ่งของสถาบันศิลปะ (Kunstlerhaus) ได้ประท้วงเนื่องจาก สถาบันไม่อนุญาตให้นักออกแบบต่างชาติที่ไม่ใช่ชาวออสเตรียนหรือเยอรมันเข้าร่วมแสดงงาน ซึ่งปรากฏการณ์นี้มีอยู่ทั่วไปทั้งในฝรั่งเศส อังกฤษ และเยอรมัน แสดงให้เห็นถึงการขัดแย้ง ระหว่างกลุ่มประเพณีนิยม (Tradition) และกลุ่มความคิดใหม่ (New idea) ซึ่งตามความคิดของศิลปินและนักออกแบบในกลุ่มนี้ต้องการแสดงงานให้มากที่สุดเท่าที่สามารถจะทำได้
  •          กลุ่มเวียนนาซัคเซสชั่น ซัคเซสชั่น (Vienna Secession) นี้นำโดยกุสตาฟ คลิมท์ (Gustav Klimt, ค.ศ.1870-1956) และโคโลแมน โมเซอร์ (Koloman Moser, ค.ศ.1868-1918) งานศิลปินกลุ่มนี้มีลักษณะคล้ายศิลปะแบบอาร์ตนูโว (Art Nouveau) โดยมีการพัฒนาจากรูปแบบสัญลักษณ์ (Symbolist) มาเป็นลวดลายดอกไม้หรือพรรณพฤกษา และการผสมผสานของพัฒนาการนี้จะเห็นได้จากภาพโปสเตอร์ผลงานของคลิมท์ ที่ปรากฏการใช้สัญลักษณ์จากสัตว์และสิ่งมีชีวิตในเทพนิยายกรีก



โปสเตอร์แสดงนิทรรศการผลงานศิลปะของกลุ่มเวียนนาซัคเซสชั่น โดย กุสตาฟ คลิมท์ มีการเว้นพื้นที่ว่างเปล่าไว้บริเวณกลางภาพ ซึ่ง การจัดวางในลักษณะนี้ไม่ค่อยปรากฏให้เห็นบ่อยนักในงานออกแบบทั่วไป
  •          ในช่วงเวลาหนึ่ง เวียนนาได้เป็นศูนย์กลางของศิลปะแบบอาร์ตนูโว แต่ต่อมาเมื่อความนิยมลักษณะของแบบลวดลายพรรณพฤกษาตามศิลปะแบบอาร์ตนูโวของฝรั่งเศสหมดไป จึงมีการใช้ศิลปะที่มีลักษณะเรียบง่าย ทำให้งานออกแบบและงานหัตถกรรม (Design and Craft) เริ่มกลับเข้ามามีความสำคัญเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงนี้รวมกันจนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและเน้นถึงแบบแผนของการใช้รูปทรงเรขาคณิตและการออกแบบโมดูลาร์ (Modular Design) ทำให้รูปแบบของงานออกแบบเปลี่ยนรูปไปจากเดิมมาเป็นการใช้รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้วงกลมในการจัดวางแบบซ้ำกันและใช้แบบผสม ในส่วนที่ตกแต่งและเป็นองค์ประกอบประเภทลวดลายขึ้นอยู่กับการใช้องค์ประกอบที่ซ้ำ ๆ กัน แบบรูปทรงเรขาคณิตเหล่านี้เป็นรูปทรงที่ไม่ใช่รูปทรงที่เห็นมาก่อนหรือถูกใช้แบบงานเครื่องจักร ซึ่งมีลักษณะเหมือนการปะติดปะต่อ แต่เป็นการใช้ที่ค่อนข้างมีชีวิตชีวา      ในช่วงนี้เองกลุ่มเวียนนาซัคเซสชั่น (Vienna Secession) ได้มีการออกนิตยสาร ชื่อว่า เวอร์ เซครุม “Ver Sacrum”

หน้าปกหนังสือ  เวอร์ เซครุม โดยอัลเฟรด โรล์เลอร์ 
เป็นภาพใบไม้และมีการใช้ตัวอักษรที่เป็นอิทธิพลของอาร์ตนูโวอยู่กลางภาพ ค.ศ. 1898 


 หน้าปกหนังสือเวอร์ เซครุม โดย โคโลแมน โมเซอร์ 
     เป็นการใช้เส้นและพื้นที่สีดำขาวที่เรียบแบนตัดกับ ลักษณะของเส้นเป็นเส้นที่ไหลเป็นคลื่น ค.ศ. 1899 



องค์ประกอบส่วนพาดหัวลายลูกไม้ เน้นการใช้เส้นแบบ สมมาตรของหนังสือเวอร์ เซครุม 
โดย โยเซฟ       ฮอฟแมนน์      ค.ศ. 1898


อย่    อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่ากลุ่มเวียนนาซัคเซสชั่น นั้นใช้เส้นในการสร้างงานอย่างมาก และยังมีการใช้ลายเส้นอิสระที่เกิดจากการใช้โลหะกัดร่องลึก (Freehand Etching) ผสมเข้ากับการวาดลายเส้น ที่มีความหนาและบางเข้ามาผสม มีการใช้สิ่งพิมพ์ทับกันบนสีอื่นๆ หรือบนพื้นหลังภาพ มีการใช้ลวดลายตกแต่ง (Decorative ornament) เส้นขอบในส่วนหัวและส่วนท้ายของตัวอักษรอย่างสม่ำเสมอ การจัดวางรูปแบบของทุกหน้ามีความสะอาดและคมชัด  

2. ศิลปะสไตล์กลาสโกว์สคูล (Glasgow School Style)


  • หนังสือ The Studio ผลงานของแบร์ดสเลย์ (Beardsley) และทูโรพ (Toorop) ในปี ค.ศ. 1890 ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อกลุ่มนักออกแบบชาวสก็อตแลนด์ 4 คน ที่มาพบกันที่โรงเรียนศิลปะ กลาสโกว์ (Glasgow School of Art) ได้แก่ ชาร์ส เรนนี แมคอินทอช(Charles Rennie Mackintosh, 1868-1928) เจ.เฮอร์เบอร์ท แมคแนร์ (J.Herbert McNair, ค.ศ.1868-1955) มาร์การ์เร็ต (Margaret, 1865-1933) และฟรานซิส แมค  โดนัลด์ (Frances Macdonald, ค.ศ.1875-1921)       
  • ทั้ง 4 คน ได้ร่วมกันทำงานในสไตล์ “กลาสโกว์สคูล” (Glasgow School) ซึ่งเป็นการพัฒนาจากการผสมผสานของลายดอกไม้ (Lyrical) และภาพสัญลักษณ์ (Symbolic Complexity) มีการสร้างลวดลายโดยการใช้รูปทรงเรขาคณิตที่ผสมผสานกันจนเป็นลายดอกไม้ และเส้นโค้งด้านบนโครงสร้างของรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอารมณ์ที่ตื่นเต้น เศร้าโศกไปถึงรูปทรงที่สง่างาม
         
         การออกแบบในหน้าหนังสือ “Ver Sacrum” โดยมาร์การ์เร็ตแมคโดนัลด์ เป็นผลงานของศิลปินกลุ่มกลาสโกว์สคูล มีการใช้โครงสร้างแบบสมมาตรและมีรูปผู้หญิงผมยาว ประดับด้วยรูปใบไม้ห่อหุ้มรูปร่างเด็ก ค.ศ. 1901

        
        โปสเตอร์สำหรับ “Scottish Musical Review” โดย ชาร์ส เรนนี แมคอินทอช ออกแบบบนรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าสูง มีการใช้เส้นในลักษณะที่ซ้อนกัน ใช้สีรียบแบน ตรงส่วนหัวมีวงกลมสีอ่อน เพื่อเน้นและเป็นตัวดึงดูดความสนใจ ค.ศ. 1896

   
  • มาริออน คิง (Marion King, ค.ศ.1876-1949) เป็นบุคคลที่ชื่นชอบและพัฒนางานมาจากกลาสโกว์สคูล (Glasgow School) คิงได้พัฒนางานภาพประกอบเรื่อง ซึ่งเป็นภาพประกอบนิทาน (Fairy style of illustration) ได้รับอิทธิพลมาจากงานศิลปะยุคกลาง (Medieval) ที่มีตัวอักษรลักษณะลื่นไหล (Stylized Lettering)
      • การออกแบบบทเพลงกล่อมเด็ก โดยเจสซี มาริออน คิง เป็นตัวอักษรตามลักษณะของกลาสโกว   สคูล ให้สังเกตตัวอักษรE และ F ที่เส้นกลางของตัวอักษรถูกจัดวางไว้สูง อีกทั้งตัวA H ยังมีเส้นขนานซ้ำๆ กัน ค.ศ. 1895

  • ทางด้านทอลล์วิน มอร์ริส (Talwin Morris, ค.ศ.1665-1911) ซึ่งภายหลังได้เป็นผู้จัดการของสำนักพิมพ์กลาสโกว์ (Director of Glasgow Publishing Firm) แสดงให้เห็นถึงการออกแบบที่ประหยัดและสามารถนำวัสดุมาใช้ซ้ำกันได้หลายครั้ง อันเป็นอิทธิพลทางความคิดจาก 4 ผู้นำของศฺลปะแบบกลาสโกว์สกูลทั้งด้านการแบ่งพื้นที่ว่างและลวดลาย
  •          ภาพปกของหนังสือ “The Comody of Errors” ออกแบบโดยทอลล์วิน มอร์ริส มีการใช้เส้นและรูปทรงแบบสมมาตรที่มีองค์ประกอบไม่มาก