ปฏิทิน

15 สิงหาคม 2555

คุณเคยจำอะไรสำคัญๆได้รึเปล่า เช่น เหตุการณ์สำคัญๆ หรือช่วงเวลาสำคัญๆ เช่นวันที่แฟนสุดสวยมาเซอร์ไพส์ หรือแม้แต่เหตุการณ์กิ๊กกับแฟนมาประจันหน้ากัน สิ่งเหล่านี้ในทางศาสตร์ของการรับรู้เชิงจิตวิทยาก็คือ เหตุการณ์ที่แปลกใหม่ไม่เป็นปกติจากการรับรู้ทั่วๆไป นั่นแหละมันจะทำให้เรานั้นจดจำสิ่งเหล่านั้นได้อย่างแม่นยำมากเสียกว่าการใช้วิถีชีวิตตามปกติ 
ก่อนที่จะตอบคำถามว่ามันเกี่ยวอย่างไร ต้องมาดูความม้ายความหมายของคำว่าสโลแกนกันก่อน สโลแกนตามหลักการหมายถึง วลีหรือคำขวัญที่น่าจดจำ ที่นำไปใช้ในทางการเมือง การพาณิชย์ ศาสนา เพื่อกล่าวซ้ำถึงแนวคิดหรือจุดประสงค์ต่าง ๆ พูดกันภาษาง่ายๆก็คือ คำย้ำ เพราะมันมีหน้าที่ตอกย้ำจุดขายของสินค้าหรือบริการหรือบุคลิกภาพของแบรนด์ให้ชัดเจนยิ่งขึ้นๆ พอรู้ตรงนี้แล้วก็จะเข้าใจได้ว่าเหตุการณ์กิ๊กกับแฟนมาเจอกันนั้นเกี่ยวอะไร มันเกี่ยวครับ มันเกี่ยวตรงที่ว่า ถ้าเราใช้วิถีชีวิตตามปกติ เช่น ตื่นนอนมา อาบน้ำ ไปทำงาน รถติด พักเที่ยง กลับบ้าน นอน มันก็จะเป็นสิ่งที่คุ้นเคยและไม่จดจำอยู่แล้ว ซึ่งถ้าเป็นอย่างนี้ทุกๆวันสุดท้ายข้อมูลก็จะถูกลบเลือนไป แต่ถ้าเหตุการณ์ในวันนั้นแฟนเกิดจับกิ๊กของเราได้ ที่นี้ล่ะก็ เราจะจำได้แม่นเลยทีเดียว เสมือนดั่งสโลแกนอ่ะครับที่บอกคุณสมบัติหรือบรรยายสรรพคุณสินค้าแบบทั่วๆไป ก็คงไม่มีใครจำได้แม่น แต่ถ้าบิดมุมให้แปลก กระแทก และโดนใจ มันก็จะกลายเป็นสโลแกนที่จดจำได้ และอาจจะกลายเป็นตำนานได้เลยทีเดียว เปรียบเทียบกัน ระหว่างสโลแกนของ ช่อง 3 กับ ช่อง 9 เรียกได้ว่าแทบจะไม่มีใครจำสโลแกนช่อง 9 ได้เลย (คุ้มค่าทุกนาทีดูทีวีสีช่อง 3, ช่อง 9 โมเดิร์นไนน์ทีวี โทรทัศน์แห่งความทันสมัย สังคมอุดมปัญญา) เราก็จะเห็นความต่างของข้อมูลที่ใส่ลงไปเพื่อการจดจำ ซึ่งมันสำคัญมากๆ

ผมจะยกตัวอย่างว่าสโลแกนทันสำคัญ และติดหูขนาดไหน คุณลองคิดเอาเองว่าสโลแกนที่ผมบอกนั้นเป็นแบรนด์อะไร ลองเล่นดูครับไม่มีลิมิต ชีวิตเกินร้อย, ละลายในปาก ไม่ละลายในมือ, รักคุณเท่าฟ้า, มันทุกเม็ด, บรั่นดีไทย, เชิดชูนักสู้ผู้ยิ่งใหญ่, หนึ่งในใจคุณ, กินไม่ได้แต่เท่ห์, เที่ยวเมืองไทย ไม่ไปไม่รู้, ต้ม ผัด แกง ทอด หอมอร่อยในพริบตา, ผลิตจากวัตถุดิบหลักจากธรรมชาติ เป็นไงล่ะครับ พอพูดจบก็คงจะรู้ว่าแบรนด์นั้นเป็นแบรนด์อะไรได้เลยทันทีโดยไม่ต้องเฉลย นี่แหละครับอิทธิพลของสโลแกน
สโลแกนที่ดีนั้นมันจะต้องบอกจุดเด่นของสินค้านั้นๆออกมา หรือไม่ก็บอกถึงบุคลิกภาพของแบรนด์ ใช้คำที่กระทัดรัด จดจำได้ง่าย อาจใช้เทคนิคคำพ้องเสียง พ้องรูป หรือคล้องจองมาผสมผสานกับสโลแกน

ตัวอย่างอันหนึ่งที่น่าสนใจ คือกลยุทธ์การทำตลาดของช็อคโกแลต M&M ซึ่งต้องการฉีกตัวเองให้แตกต่างจากคู่แข่ง เพราะคู่แข่งในตลาดมีช็อคโกแลตมีมากมายหลากหลายยี่ห้อ ซึ่งรสชาติก็ไม่ได้ต่างอะไรกันมากนัก การบอกว่าสินค้าของตัวเองนั้นอร่อยกว่าของคู่แข่ง คงทำได้ยาก ถึงทำก็ยังไปเหมือนของชาวบ้านเสียอีก ฉะนั้นมันก็ไม่มีประโยชน์ที่บอกในมุมของรสชาติความอร่อย M&M ก็เลยเลือกเอาคุณสมบัติเด่นที่คู่แข่งรายอื่นๆไม่มี หรือไม่ได้บอกมาสู้แทน ปกติแล้วช็อคโกแลตนั้นถ้าถือในมือเป็นเวลานานๆก็จะละลายได้ แต่ช็อคโกแลตของ M&M ไม่เจอปัญหานี้ เพราะถูกเคลือบหรือโค้ดสีเอาไว้เป็นเม็ดๆ จึงไม่ละลายเหมือนของแบรนด์อื่นๆ เค้าจึงเลือกใช้สโลแกน M&M…ละลายในปาก แต่ไม่ละลายในมือ จึงเป็นการดึงเอาจุดแข็งของตัวเองที่คู่แข่งรายอื่นไม่มีมาใช้ ดังนั้นเมื่อที่ได้ยินสโลแกน “M&M…ละลายในปาก แต่ไม่ละลายในมือ” นี้จะนึกถึงภาพช็อคโกแลตหลากสีอยู่ในมือ แต่ไม่ทำให้มือเปื้อน เสมือนดั่งบอกเรื่อง Benefit ของสินค้าสั่นๆและชัดเจนโดยใช้คำซ้ำมาย้ำให้จำง่ายมากขึ้น ทำให้แบรนด์ช็อคโกแลตของ M&M นั้นเกิดได้อย่างรวดเร็วและจดจำมาถึงทุกวันนี้

นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่1 ของโลกตัวจริงเสียงจริง



คุณสมชนะ กังวารจิตต์ เล่าแชร์ประวัติส่วนตัว ณ รายการสิงห์ ไอดอล (Singha Idol) ในเรื่องราวที่เค้าไปชนะเลิศอันดับหนึ่งของโลก ในการแข่งขันออกแบบบรรจุภัณฑ์ระดับโลก ของสมาคม PENTAWARD และ The Dieline Awards ขอบอกว่าพี่คนนี้เค้าเป็นแบบอย่างให้นักออกแบบรุ่นใหม่หลายๆคนจริงๆ^^

บันไดสายอาชีพ นักโฆษณา

EOS 600D กล้อง DSLR รุ่นใหม่จาก CANON

EOS 600D กล้องรุ่นใหม่ล่าสุดจาก Canon

Canon EOS 600DCanon EOS 600D เป็นกล้อง DSLR หรือบางคนมักเรียกว่า กล้องซิงเกิลเลนส์ รุ่นนี้เป็นรุ่นล่าสุด (มีนาคม 2554) จากแคนอน กล้องรุ่นนี้ดูภายนอก็เห็นว่าไม่มีความแตกต่างอะไรมากนักจากกล้องตระกูล EOS ทั่วไป แต่ถ้าได้มาดูในรายละเอียดในคุณสมบัติเด่นๆ ของกล้อง Canon EOS 600D แล้ว จะพบว่าคุณสมบัติที่มีในกล้อง EOS 600D นี้ มักพบในกล้องดิจิตอลคอมแพคทั่วไป ซึ่งมักหาไม่ได้ในกล้องประเภท DSLR
Canon EOS 600D ถือได้ว่าเป็นกล้อง DSLR ที่ผสมผสานความสามารถของกล้อง Compact เข้าด้วยกัน คุณกำลังมองหาคุณสมบัตินี้ ใช่หรือเปล่า..

คุณสมบัติเด่นๆ ของ Canon EOS 600D


  • EOS Scene Detection Systemตัวช่วยในการปรับและวิเคราะห์ภาพให้อัตโนม้ติ รวมทั้งการปรับชดเชยแสง การปรับระยะโฟกัสภาพ การปรับสมดุลแสงขาว การปรับสมดุลแสงอัตโนมัติ ร่วมด้วยกับการปรับตั้งค่า Picture Style ให้อัตโนมัติ เรียกว่าแถบไม่ต้องปรับแต่งอะไรให้มากมายนัก
  • Picture Style Auto
    ปรับแต่งเพิ่มสีให้ดูสดใส อิ่มตัวสูงขึ้น เพื่อให้ภาพที่สมจริงมากยิ่งขึ้น
  • บรรยากาศของภาพ
    สามารถเลือกปรับแต่งค่าต่างๆ ของภาพให้ได้หลากหลายอารมณ์ เช่น  สดใส / นุ่มนวล / อบอุ่น/ หนักแน่น / เยือกเย็น / สว่างขึ้น / มืดลง / ภาพขาวดำ เป็นต้น รวมทั้งค่า White Balance เช่น่ ตั้งค่าเริ่มต้น / แสงแดด / แสงในร่ม / เมฆครึ้ม / หลอดไฟทังสเตน / หลอดฟลูออเรสเซนต์ / อาทิตย์ตก เป็นต้น
  • Creative Filterเพิ่มความน่าสนใจให้ภาพด้วย Filter ใหม่ๆ เช่น ภาพหยาบ ขาว-ดำ Grainy B/W, ซอฟท์โฟกัส Soft Focus, ลูกเล่นกล้องของเล่น Toy Camera Effect, เอฟเฟคกล้องรูเข็ม Miniature Effect และใหม่! เอฟเฟคตาปลา Fish-eye เป็นต้น
  • Video Snapshots
    สร้างสรรผลงานวีดีโอได้บนกล้อง ด้วยการบันทึกภาพเคลื่อนไหวในรูปแบบคลิปวิดีโอสั้นๆ (ความยาว 2,4 หรือ 8 วินาที) และทำการเชื่อมต่อไฟล์วิดีโอทั้งหมดไว้ในอัลบั้มเดียวกัน พร้อมกับใส่เสียงเพลงประกอบ
  • Movie Digital Zoom
    ซูม 3-10 เท่า สามารถซูมขณะถ่ายวีดีโอได้ด้วย แต่ยังคงไว้ซีงความละเอียดระดับ HD
  • EOS Movie
    เลือกระดับการบันทึกวีดีโอในรูปแบบต่างๆ
    • Full HD 1920 x 1080
    • HD Ready 1280 x 720
    • SD Formats 640 x480

คุณสมบัติทั่วไปของกล้อง Canon EOS 600D

  • ความละเอียด 18 ฟิกเซล
  • หน้าจอ LCD 3.0 นิ้ว ความละเอียด 1.04 ล้านฟิกเซล
  • รองรับการบันทึกภาพ Jpeg/RAW
  • รองรับหน่วยความจำ SD/SDHC/SDXC
  • สัดส่วนภาพ 3:2
  • ISO สูงสุด 6400
  • รองรับเทคโนโลยี PictBridge / DirectPrint

ราคาชุดคิทของกล้องรุ่น Canon EOS 600D

  • EOS 600D พร้อมเลนส์ EFS 18-55isII
    ราคาขายปลีก : 29,900 บาท 
  • EOS 600D พร้อมเลนส์ EFS 18-135isII
    ราคาขายปลีก : 38,900 บาท

TIPMSE (บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม)



โคมไฟขวดเหล้า ขวดไวน์

มองหาไอเดียกรีน ณ ตลาดนัดรถไฟ สวนจตุจักร กรุงเทพ

ขวดเหล้าต่างประเทศราคาแพง สมัยที่มันยังมีของเหลวรถกลมกล่อมอยู่ภายใน หลากหลายรูปแบบทั้งกลมและเหลี่ยมถูกนำมาเจาะท้ายขวดออกด้วยความอุตสาหะเพื่อไม่ให้แก้วราคาแพง และหายากเหล่านี้ต้องแตกเสียหาย หลังจากนั้นจึงนำหลอดไฟสีต่างๆ มาบรรจุไว้ภายใน แล้วขวดเหล้าเดิมๆ ก็เรืองแสงด้วยไอเดียสีเขียวด้วยมูลค่าใหม่ใหักับมันอีกครั้ง

คุณเปิ้ลจากร้าน "Drunk Design" เล่าให้ฟังเล็กน้อยในชั่วโมงเร่งด่วนที่ต้องคอยเชิญชวนคนที่อาจจะเป็นลูกค้าซึ่งกำลังหยุดมองงานฝีมืออยู่หน้าร้าน เป็นขวดเหล้าต่างประเทศราคาแพงที่นำมาทำเป็นโคมไฟเพิ่มมูลค่าให้ของสะสมไมล์นักดื่มกระเป๋าหนัก

"โคมไฟเหล่านี้มีราคาแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าเป็นขวดเหล้ายี่ห้ออะไร และมีรูปลักษณ์ภายนอกอย่างไร ราคาเริ่มจากหลักสี่ร้อยขึ้นไป"

กรีนลาร์เต้จึงได้นึกถึงสถานที่ที่โคมไฟสุดคลาสสิกเหล่านี้ควรจะอยู่เช่น ในท์คลับ บาร์เครื่องดื่ม ร้านอาหาร หรือในสวนพักผ่อนสบายๆ หลังบ้าน ซึ่งก่อนหน้านี้กรีนลาร์เต้ก็ได้นำไอเดีย "โคมไฟขวดเหล้าไวน์" จากฝีมือของศิลปินในต่างประเทศมาแนะนำไว้ แต่หลังจากนี้ถ้าคุณผู้อ่านสนใจงานฝีมือทรงคุณค่าเหล่านี้ก็หาได้ซื้อได้จากตลาดนัดรถไฟ สวนจตุจักร บ้านเรานี่เอง

ไอเดียสีเขียววันนี้
เพิ่มมูลค่าให้ของสะสม ถ้ามองว่าของเหล่านี้เป็นเพียงขวดเหล้าราคาแพงเอาไว้สะสมมันก็คงเป็นได้แค่นั้น แต่ถ้าคุณต้องการสร้างสิ่งใหม่ๆ ก็ต้องมองมันด้วยมูลค่าใหม่ๆ ที่มากกว่านั้น














บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม



ภาชนะเปลือกส้ม | งานออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมจากวัสดุชีวภาพเหลือทิ้ง







เปลือกส้มมีคุณประโยชน์มากมาย ในประเทศไทยเน้นนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเช่น เปลือกส้มโอกวนของอำเภอโพธิประทับช้าง จังหวัดพิจิตร แต่นักออกแบบเชื้อสายอาหรับจาก Solskin Studio นำเปลือกส้มมาผ่านความคิดสร้างสรรค์จนกลายเป็นภาชนะไว้ใช้สอยในชีวิตประจำวัน ราคาถูกเพราะเลือกใช้วัสดุชีวภาพเหลือทิ้ง แต่เชื่อหรือไม่ว่าภาชนะเปลือกส้มเหล่านี้ยังคงกลิ่นส้มไว้ได้เป็นอย่างดี

Ori Sonnenschein นักออกแบบวัยละอ่อนที่เพิ่งคว้าใบปริญญาจาก Bezalel Academy of Art and Design มาหมาดๆ แต่มีความคิดสร้างสรรค์ทางการออกแบบชนิดที่ตัวเขาเองยังต้องทึ่งกับผลงานกลิ่นส้มเหล่านี้ เขานำเปลือกส้มมาทำให้แห้งแล้วผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อให้เปลือกส้มนิ่มๆ กลายเป็นภาชนะที่มีความทนทานต่อการนำมาใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวัน จาน ชาม ช้อน ถ้วย หรือแม้แต่เหยือกใส่น้ำ ผลงานบางชิ้นยังนำเอาความแตกต่างของพื้นผิวของเปลือกส้มมาพลิกกลับโดยเอาเปลือกส้มด้านในไว้นอก เผยให้เห็นลายเส้นบนพื้นที่ขาวที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ขึ้นมา

ไอเดียสีเขียววันนี้

ภาชนะจากวัสดุชีวภาพ ประเทศไทยมีความหลากหลายของพันธุ์พืชเป็นอย่างมาก มีวัสดุทางชีวภาพเหลือทิ้งจากการบริโภคและภาคเกษตรกรรมมากมายในแต่ละปีและถ้ามองว่าของเหลือทิ้งเหล่านี้เป็นทรัพยากรก็อาจจะเกิดนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ในประเทศได้อย่างแน่นอน





บรรจุภัณฑ์อาหารย่อยสลายได้

              การเติบโตอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ทำให้ สิ่งแวดล้อมถูกทำลายจนถึงขั้นก่อปัญหากับการดำรงชีวิตของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดกระแสการตื่นตัวเพื่ออนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม โดยการผลักดัน การใช้เทคโนโลยีการผลิตและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างหนึ่งของบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นใหม่ก็คือ บรรจุภัณฑ์อาหารย่อยสลายได้ง่ายด้วยวิธีทางชีวภาพ ซึ่งสามารถใช้แทนกระดาษและโฟมพอลิสไตรีนได้ บรรจุภัณฑ์ดังกล่าวผลิตจากปูนขาว แป้งมันฝรั่ง และเส้นใยพืช ซึ่งอาจเป็นเส้นใยใหม่หรือจากกระดาษรีไซเคิล ผ่านการทำให้พองโดยใช้ไอน้ำแล้วอบในอุปกรณ์คล้ายกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตโคนไอศกรีม ในขณะที่การผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากพอลิสไตรีนมีการใช้ไฮโดรคลอโรฟลูออโร– คาร์บอน (HCFCs) เป็นตัวช่วยการพองตัว นอกจากนี้การออกแบบยังใช้กระบวนการใหม่ที่พิจารณาวงจรชีวิตของ ผลิตภัณฑ์เป็นหลัก (life cycle assessment หรือ LCA) เริ่มตั้งแต่วิธีการผลิตวัตถุดิบจนถึงวิธีทำลายผลิตภัณฑ์หลังการใช้งาน ทำให้ได้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมีคุณภาพสูง และแข็งแรงกว่าบรรจุภัณฑ์ประเภทพอลิสไตรีน ในขณะเดียวกันก็สามารถแข่งขันได้ในตลาดด้วยต้นทุนที่ไม่สูงนัก ผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์พบว่า กระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวใช้พลังงาน น้อยกว่าเมื่อเทียบกับการผลิตบรรจุภัณฑ์อาหาร ทั่วไป ดังนั้นปริมาณก๊าซที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ เรือนกระจก (greenhouse effect) ที่ปล่อยออกจากกระบวนการจึงน้อยกว่าด้วย และเมื่อถูก ตัดเป็นชิ้นหลังการใช้ ตัวบรรจุภัณฑ์จะอ่อนตัวในน้ำได้ (ซึ่งไม่มีการอ่อนตัวขณะใช้บรรจุอาหารเหลว) ปูนขาวจะถูกน้ำชะออกไป ดังนั้นขยะที่เหลือจึงประกอบด้วยเส้นใยพืชและแป้งที่สลายตัวได้เองตามธรรมชาติ สามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยเพื่อการเกษตรได้ ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ให้ความสนใจต่อบรรจุภัณฑ์ใหม่นี้ด้วย เหตุผล ที่สำคัญยิ่งประการหนึ่งนอกเหนือจากความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมก็คือ ต้นทุนการผลิต รวมทั้งต้นทุนการเก็บรวบรวมขยะจะลดลงจากเดิมอย่างมีนัยสำคัญ แสดงให้เห็นว่าภาคอุตสาหกรรมจะมีความสนใจในผลิตภัณฑ์ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หากผลิตภัณฑ์นั้นมีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ นับเป็นแนวคิดใหม่ที่นำไปประยุกต์ใช้ได้ในยุคอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมดังเช่น ปัจจุบัน

บรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติ


           ปัจจุบันวิถีชีวิตของผู้คนเปลี่ยนไป สิ่งที่เคยเป็นของใช้ในชีวิตประจำวันของคนไทยจึงสูญหาย วัตถุดิบจากธรรมชาติที่เคยใช้กันอยู่ทั่งไปเริ่มหายาก เช่น ใบตอง ใบบัว แต่มีวัตถุดิบเป็นผลิตผลของเทคโนโลยีสมัยใหม่มาแทนที่ ทำให้การใช้วัตถุดิบตามธรรมชาติสูญไป โดยเฉพาะความรู้เกี่ยวกับการ
“ห่อ กลัด มัด เย็บ” ซึ่งเป็นความรู้ที่คนไทยในอดีตใช้ในชีวิตประจำวันมาแต่โบราณ

           ห่อ : เป็นกรรมวิธีในการเก็บรักษา และพัน หรือห่อหุ้มสิ่งของ อาหาร เพื่อแปรรูปให้เป็นอาหารสุก เช่น การห่อขนมต่างๆ ด้วยใบตอง ใบบัว เพื่อเก็บรักษา หรือนำอาหารนั้นไปนึ่งหรือต้มให้สุก

                                                                                    
           กลัด : การเก็บอาหารด้วยใบตองและใบไม้ เช่นใบบัว ใบอ้อย ใบมะพร้าว เป็นการนำวัตถุดิบที่ใช้ห่อสิ่งต่างๆ ติดกัน มักใช้กับใบตอง ใบบัววิธีกลัดจะต้องใช้ไม้กลัดที่ทำจากไม้ไผ่หรือก้านมะพร้าว

                                                                                 
           มัด : การมัดเข้าหากันหรือรัดให้แน่นด้วยตอก เพื่อให้ใบตองหรือใบไม้หุ้มอาหารให้แน่น เช่น การห่อข้าวต้มผัดหรือข้าวต้มมัดด้วยใบตอง แล้วใช้ตอกมัดหัวท้าย หรือใช้ใบตองห่อแล้วใช้ตอกมัดเป็นเปลาะๆ อย่างการมัดแหนม หมูยอ การเก็บอาหารด้วยการห่ออย่างมิดชิดช่วยให้อาหารปลอดจากแมลงและสิ่งปนเปื้อนต่างๆ ได้ดี


           ร้อย : การนำเอาวัสดุจากธรรมชาติ เช่น ไม้ไผ่ กาบกล้วย มาเหลา ฉีก หรือเจียนเป็นเส้น เพื่อมาร้อยรวมผลผลิตหรือสินค้าเข้าไว้ด้วยกัน เช่น ใช้เชือกกล้วยร้อยห่อน้ำพริกเข้าไว้รวมกัน ใช้ตอกไม้ไผ่ร้อยหัวปลาแล้วจัดเรียงกันอย่างเป็นระเบียบนำไปตากแห้งเพื่อจำหน่าย, ใช้เชือกกล้วยหรือเชือกปอร้อยผมหมากสุกที่หั่นเป็นแว่นรวมไว้เป็นเส้น แล้วนำไปตากแห้งนำมามัดรวมเป็นพวง



                                                                                       
           เย็บ : การใช้ตอก หวาย ไม้กลัดสอดเสียบให้วัตถุดิบประเภทใบไม้คงรูปเป็นภาชนะ

                                                                              

ความหมายของการบรรจุภัณฑ์ (Packaging)

                            การบรรจุภัณฑ์เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการตลาด โดยเฉพาะปัจจุบันที่การผลิตสินค้า หรือบริการได้เน้นหรือให้ความสำคัญกับผู้บริโภค (Consumer Oriented) และจะได้เห็นว่าการบรรจุภัณฑ์มีบทบาทมากขึ้นเพราะลำพังตัวสินค้าเองไม่มีนวัตกรรม (Innvoation) หรือการพัฒนาอะไรใหม่อีกแล้ว ฉีกแนวไม่ออกเพราะได้มีการวิจัยพัฒนากันมานานจนถึงขั้นสุดยอดแล้ว จึงต้องมาเน้นกันที่บรรจุภัณฑ์กับการบรรจุหีบห่อ (Packaging) บรรจุภัณฑ์กับหีบห่อ (Package) ถือว่าเป็นคำคำเดียวกัน ทั้งนี้สุดแล้วแต่ผู้ใดประสงค์หรือชอบที่จะใช้คำใด

ความหมายของการบรรจุภัณฑ์หรือการบรรจุหีบห่อ (Packaging) 
ได้มีผู้ให้คำจำกัดความไว้มากมายพอสรุปได้ดังนี้

1. Packaging หมายถึง งานเทคนิคที่ต้องอาศัยความชำนาญ ประสบการณ์และความคิดสร้างสรรค์ ในอันที่จะออกแบบและผลิตหีบห่อให้มีความเหมาะสมกับสินค้าที่ผลิตขึ้นมา ให้ความคุ้มครองสินค้า ห่อหุ้มสินค้าตลอดจนประโยชน์ใช้สอย อาทิเช่น ความสะดวกสบายในการหอบหิ้ว พกพาหรือการใช้ เป็นต้น
2. Packaging หมายถึง กลุ่มของกิจกรรมในการวางแผนเกี่ยวกับการออกแบบ การผลิตภาชนะบรรจุหรือสิ่งหุ้มห่อสินค้าบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับฉลาก (Label) และตรายี่ห้อ (Brand name)
3. Packaging หมายถึง ผลรวมของศาสตร์ (Science) ศิลป์ (Art) และเทคโนโลยีของการออกแบบ การผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้า เพื่อการขนส่งและการขายโดยเสียค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม
4. Packaging หมายถึง การใช้เทคโนโลยีและเศรษฐศาสตร์เพื่อหาวิธีการรักษาสภาพเดิมของสินค้าจนกว่าจะถึงมือผู้บริโภคคนสุดท้าย เพื่อให้ยอดขายมากที่สุดและต้นทุนต่ำสุด
5. Packaging หมายถึง กิจกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและผลิตรูปร่างหน้าตาของภาชนะบรรจุ สิ่งห่อหุ้มตัวผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์
6. Packaging เป็นทั้งศิลปะและวิทยาศาสตร์ ซึ่งถูกมองในหลายแง่โดยบุคคลฝ่ายต่าง ๆ ในกระบวนการผลิตสินค้า กล่าวคือ ฝ่ายเทคนิคจะคิดถึงปฏิกิริยาระหว่างภาชนะบรรจุกับผลิตภัณฑ์และสิ่งแวดล้อม ฝ่ายผลิตจะพิจารณาต้นทุนและประสิทธิภาพของระบบการบรรจุ ฝ่ายจัดซื้อจะคำนึงถึงต้นทุนของวัสดุทางการบรรจุ และฝ่ายขายจะเน้นถึงรูปแบบและสีสันที่สะดุดตา ซึ่งจะช่วยในการโฆษณาผลิตภัณฑ์ ด้วยเหตุนี้ Packaging ที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมจะเกิดขึ้นได้จากการประนีประนอมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ภาชนะบรรจุซึ่งมีน้ำหนักเบาและราคาต้นทุนต่ำ แต่ในขณะเดียวกันมีรูปแบบสวยงาม และให้ความคุ้มครองอย่างเพียงพอแก่ผลิตภัณฑ์ภายในได้
7. Packaging หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดในขบวนการทางตลาดที่เกี่ยวเนื่องกับการออกแบบสร้างสรรค์ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อให้กับผลิตภัณฑ์
8. Packaging หมายถึง การนำเอาวัสดุ เช่น กระดาษ พลาสติก แก้ว โลหะ ไม้ ประกอบเป็นภาชนะหุ้มห่อสินค้า เพื่อประโยชน์ในการใช้สอยมีความแข็งแรง สวยงาม ได้สัดส่วนที่ถูกต้อง สร้างภาพพจน์ที่ดี มีภาษาในการติดต่อสื่อสาร และทำให้เกิดผลความพึงพอใจจากผู้ซื้อสินค้า
             
                  ส่วนความหมายของ หีบห่อ ” “ บรรจุภัณฑ์ หรือ ภาชนะบรรจุ ” (Package) มีผู้ให้คำจำกัดความไว้มากมายเช่นกัน ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
1. Package หมายถึง สิ่งห่อหุ้มหรือบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งภาชนะที่ใช้เพื่อการขนส่งผลิตภัณฑ์จากแหล่งผู้ผลิตไปยังแหล่งผู้บริโภค หรือแหล่งใช้ประโยชน์ หรือวัตถุประสงค์เบื้องต้นในการป้องกันหรือรักษาผลิตภัณฑ์ ให้คงสภาพตลอดจนคุณภาพใกล้เคียงกันกับเมื่อแรกผลิตให้มากที่สุด
2. Package หมายถึง สิ่งที่ทำหน้าที่รองรับหรือหุ้มผลิตภัณฑ์ เพื่อทำหน้าที่ป้องกันผลิตภัณฑ์จากความเสียหายต่าง ๆ ช่วยอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในการขนส่งและการเก็บรักษา ช่วยกระตุ้นการซื้อตลอดจนแจ้งรายละเอียดของผลิตภัณฑ์
นอกจากนี้ยังมีคำอีก 2 คำ ที่เกี่ยวข้องกับการบรรจุภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ คือ
1. การบรรจุภัณฑ์ (Packing) หมายถึง วิธีการบรรจุผลิตภัณฑ์ โดยการห่อหุ้ม หรือใส่ลงในบรรจุภัณฑ์ปิด หรือสิ่งอื่น ๆ ที่ปลอดภัย
2. ตู้ขนส่งสินค้า (Container) หมายถึง ตู้ขนาดใหญ่ที่ใช้ขนส่งสินค้า ซึ่งมีขนาดและรูปแบบแตกต่างกันตามวิธีการขนส่ง ( ทางเรือหรือทางอากาศ ) โดยทั่วไปจะมีขนาดมาตรฐานเป็นสากล คำว่า “ Container ” นี้อาจใช้ในความหมายที่ใส่ของเพื่อการขนส่งและจัดจำหน่าย ในปัจจุบัน

ความเป็นมาของการบรรจุภัณฑ์

                  ในยุคหินเมื่อมนุษย์ล่าสัตว์ได้เขาก็จะใช้หนังสัตว์ หรือใบไม้ห่อหุ้มสัตว์ที่ล่ามาได้เพื่อป้องกันพวกแมลง แสงแดดและฝน นอกจากนี้ในการพกพาอาหารหรือวัตถุที่ต้องการ สิ่งที่ใช้ในการห่อหุ้มจะเป็น ใบไม้ เปลือกไม้ เปลือกหอย กระบอกไม้ กระเพาะสัตว์ หนังสัตว์ ฯลฯ เป็นต้น การรู้จักการแก้ปัญหาด้วยการนำเอาวัตถุดิบ (Raw Materials) จากธรรมชาติเจ้ามาเป็นอุปกรณ์ช่วยเคลื่อนย้ายวัตถุมวลสาร การกระทำดังกล่าวจึงนับว่าเป็นที่มาของการบรรจุ (Filling) ต่อมามนุษย์เริ่มรู้จักการประดิษฐ์ คิดค้นภาชนะบรรจุด้วยการดัดแปลงคุณสมบัติทางกายภาพของวัสดุธรรมธรรมชาติให้มีรูปร่างและหน้าที่ใช้สอยเพิ่มขึ้นนี่เอง จึงจัดว่าเป็นการออกแบบบรรจุภัณฑ์ดั้งเดิม (Primitive Packaging Design) ที่มนุษย์ในสมัยก่อนได้กระทำขึ้นตามสภาพการเรียนรู้และการค้นพบวัสดุในแต่ละยุค
การออกแบบการบรรจุภัณฑ์ จึงเริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการค้าและการบริการ ในฐานะของสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกแก่การขนส่งสินค้า (Aid Transportation) โดยทำหน้าที่ขั้นพื้นฐานอันดับแรกคือ ปกป้อง คุ้มครองสินค้าให้ปลอดภัยจากความเสียหาย อันเนื่องมาจากการกระทบกระเทือน และป้องกันสิ่งปนเปื้อนที่ไม่พึงประสงค์ (To Prevent Spillage And Contamination) ที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งสินค้าผลิตภัณฑ์จากโรงงานผลิตไปจนกระทั่งถึงมือผู้บริโภค ซึ่งบทบาทนี้มีผลทำให้รูปแบบของบรรจุภัณฑ์ (Package Form) มีการพัฒนาขึ้นมารับรอง มีการออกแบบภาชนะบรรจุแบบปิด (Closed Container) เช่น ถังไม้ (Barrel) การรู้จักปิดผนึกบรรจุภัณฑ์ (Container Closure) เช่น มีฝาจุกปิดขวด (Bottle Plug Seals) ฯลฯ เป็นต้น เทคนิคและกรรมวิธีการบรรจุที่พัฒนาขึ้นตามหน้าที่ใช้สอยเหล่านี้ จึงเป็นผลทำให้เกิดการพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลายลักษณะตามกาลเวลา และการค้นพบวัสดุหรือเทคโนโลยีที่นำมาใช้

ในราว ค . ศ . 1200 รูปแบบของการบรรจุภัณฑ์ ที่ปรากฏเป็นหลักฐาน ได้แก่

วัสด[ุMaterials]
รูปแบบและการใช้ [Package Form And Use]
หนัง[Leather]
การห่อ พับเป็น กระเป๋า ถุง
ผ้า [Cloth]
การห่อ พับเป็น ถุง กระสอบ
ไม้ [Wood]
ถังไม้ หีบ ไม้ ลัง กำปั่น
วัชพืชหรือผลิตภัณฑ์จากไม้[Grass/Split Wood]
ตะกร้า เสื่อ สิ่งทอ
หิน [Stone]
กาน้ำ คณโฑ
ดิน [Earthenware]
หม้อ ถ้วยชาม ฯลฯ
โลหะ [Metal]
หม้อ ถ้วยชาม กาน้ำ
แก้ว [Glass]
แก้วน้ำ ขวด ชาม คณโฑ
ในสมัยต่อมา เมื่อมีความก้างหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ ด้านศิลปศาสตร์และเทคโนโลยี เครื่องกลโรงงานต่าง ๆ ถูกคิดค้นพัฒนามากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงของการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม


                                                                                                                                                                         (The Industrial Revolution) ที่เริ่มมาตั้งแต่ต้น ศตวรรษที่ 17 ทำให้ระบบการผลิตกลายเป็นการผลิตแบบขนานใหญ่ (Mass Production) และทำให้เกิดการพัฒนารูปแบบของบรรจุภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ สามารถสนองความสะดวกสบายต่อการขนส่งสินค้า ความต้องการด้านความปลอดภัย ความรวดเร็ว ความต้องการสินค้าที่มีคุณภาพ และความต้องการความหลากหลายของสินค้า ฯลฯ จึงทำให้เกิดการตรากฎหมาย (Legislation) หน่วยบรรจุภัณฑ์ (Unit Packaging) ตราสินค้า (Brand Identification) และการโฆษณา (Advertising)
- มีการตรากฎหมายขึ้นเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ให้ผู้ผลิตเคารพในกรรมวิธีการผลิตที่สะอาดบริสุทธิ์และถูกต้องตามหลักสุขภาพอนามัย (Respect To Sanitation And Purity) ไม่ปิดป้ายฉลาก หลอกลวงผู้บริโภคเกินความจริง
- หน่วยบรรจุ เกิดขึ้นเพราะให้ความคุ้มครองผลิตภัณฑ์ได้ดีกว่า
- ตราฉลากสินค้าหรือยี่ห้อผลิตภัณฑ์ เริ่มมีความสำคัญเพราะทำให้ผู้บริโภคสามารถจดจำ และเลือกผลิตภัณฑ์ที่ต้องการตามคุณภาพได้
- ผู้บริโภคมีความรู้และประสบการณ์หลายด้านเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ หรือเลือกการบริโภคอย่างแพร่หลาย โดยผ่านวิธีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์
ปรากฏการณ์เหล่านี้ทำให้ตัวบรรจุภัณฑ์ (Package) เริ่มเข้ามามีบทบาทแทนพนักงานขายมีความสำคัญมากในฐานะ ตัวแสดงสินค้า ” (The Representation Of Product) ที่ต้องการแสดงให้ผู้บริโภคเห็นถึงเนื้อในหรือเนื้อหา (Content) ของสินค้าด้วยการให้ข้อมูลรายละเอียดของสินค้าบนหีบห่อ โดยใช้เทคนิควิธีการออกแบบสมัยใหม่ที่สามารถดึงดูดผู้บริโภคได้ ดังนั้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมาจึงมีการพัฒนากรรมวิธีการผลิตบรรจุภัณฑ์หรือภาชนะบรรจุ ความเร็ว ความเข้าใจด้านศิลปะ และกราฟิกดีไซน์ 
ด้วยเหตุและปัจจัยดังที่กล่าวมาแล้ว จึงเป็นผลให้เกิดอาชีพเฉพาะขึ้นในวงการอุตสาหกรรม คือ อาชีพนักออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Designer) ที่เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมานี้เอง ซึ่งนับว่าเป็นอาชีพใหม่ที่มีความสำคัญต่อวงการธุรกิจการค้าเป็นอย่างมาก ดังนั้น การออกแบบบรรจุภัณฑ์จึงเป็นวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับคนหลายวงการ หลายอาชีพ และหลายวิทยาการ (Multidiscipline Profession) กล่าวคือ นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ต้องศึกษาหาความรู้


วิวัฒนาการการออกแบบบรรจุภัณฑ์  [THE EVOLUTION OF PACKAGING DESIGN]

มนุษย์เรามีวิวัฒนาการจากยุคหนึ่งมาสู่อีกยุคหนึ่ง เช่นนี้ตลอดมา สิ่งนี้จะส่งผลสะท้อนต่อปัจจัย หรือองค์ประกอบในการดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมาก จากแรกเริ่มที่มนุษย์อยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ และดำรงชีวิตง่าย ๆ ด้วยการอาศัยผลิตผลจากการเพาะปลูก หรือการเลี้ยงสัตว์เพียงจำนวนไม่มาก มีการพึ่งพาอาศัยและติดต่อกันในกลุ่มใกล้เคียงเท่านั้น ต่อมาเมื่อจำนวนประชากรมีมากขึ้น มีการแบ่งกลุ่มอาศัยออกเป็นหมู่เหล่า การผลิตเฉพาะเพียงบริโภคในครอบครัวเริ่มไม่พอเพียง จึงเริ่มมีระบบการแลกเปลี่ยนที่กว้างขวางขึ้น ในที่สุดระบบการผลิตก็เปลี่ยนรูปไปเกิดเป็นการผลิตแบบอุตสาหกรรม (Mass Production) ขึ้น การแลกเปลี่ยนสิ่งของเครื่องใช้ หรืออาหาร จึงขยายวงจากบุคคลใกล้เคียงไปเป็นการแลกเปลี่ยนกับบุคลในกลุ่มอื่น ในอาณาเขตที่กว้างขวางขึ้น
ในระยะแรกของการแลกเปลี่ยน การเคลื่อนย้ายสิ่งของเครื่องใช้ที่มีการแลกเปลี่ยน ก็อาศัยภาชนะตามพื้นบ้านที่ใช้กันอยู่ในครัวเรือนตามสะดวกแต่ต่อมาเมื่อการแลกเปลี่ยนขยายขอบเขตจนถึงขนาดมีการซื้อขายและขยายขอบเขตวงกว้างออกไปมาก ๆ บรรจุภัณฑ์ใหม่ ๆ จึงเริ่มเข้ามามีบทบาท เริ่มมีการคิดค้นและประดิษฐ์บรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อสนองความต้องการในแต่ละกรณี เช่น ใช้ใบไม้มาทำกระทง ห่อขนม เอากิ่งไม้หรือเปลือกไม้มาสานทำกระจก ชะลอม ตะกร้า ฯลฯ ซึ่งบรรจุภัณฑ์เหล่านี้เป็นพื้นฐานมาจากการคิดค้นจากวัสดุธรรมชาติ และพัฒนามาเป็นบรรจุภัณฑ์ในยุคต่อ มา ซึ่งได้มีการคิดค้นวัสดุชนิดอื่น ๆ ที่จะสามารถตอบสนองประโยชน์ในการบรรจุภัณฑ์ได้กว้างขวาง และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
จากการศึกษาถึงวิวัฒนาการของบรรจุภัณฑ์ดังกล่าว เราจึงอาจแบ่งประเภทของบรรจุภัณฑ์ออกได้อย่างกว้าง ๆ เป็น 2 ประเภท คือ
1. บรรจุภัณฑ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ธรรมชาติได้สร้างหีบห่อขึ้นเพื่อป้องกันและรักษาผลผลิตทางธรรมชาติได้อย่างดีเยี่ยมและชาญฉลาด โดยสร้างให้มีความเหมาะสมกับผลผลิตแต่ละชนิดไป อาทิเช่น เปลือกผลไม้ เปลือกไข่ เป็นต้น 

2. บรรจุภัณฑ์ที่มนุษย์สร้างขึ้น เป็นบรรจุภัณฑ์ที่เกิดจากการที่มนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้น โดยได้คิดประดิษฐ์จากวัสดุต่าง ๆ เพื่อสนองประโยชน์นานาประการ เช่น เพื่อคุ้มครองป้องกันผลิตภัณฑ์เพื่อความสะดวกในการขนส่ง เพื่อการส่งเสริมการจำหน่าย ฯลฯ

สำหรับประเทศไทยเรา คำว่า บรรจุภัณฑ์ ดูจะเป็นคำใหม่ซึ่งคนไทยยังไม่คุ้นเคยนัก แต่ในความเป็นจริงแล้ว คนไทยนับว่าเป็นนักออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีความสามารถยิ่ง จะเห็นได้จากวิธีการนำเอาวัสดุธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ได้อย่างดียิ่ง เช่น การใช้ใบกล้วย ใบตาล ทางมะพร้าว ใบเตย ฯลฯ มาคิดประดิษฐ์เป็นห่ออาหารแบบต่าง ๆ การจักสานภาชนะต่าง ๆ จากไม้ไผ่ หวาย ต้นหญ้า ปอ ฯลฯ บรรจุภัณฑ์เหล่านี้มีรูปร่างลักษณะสวยงาม แปลกตา และสามารถสนองประโยชน์ได้อย่างดีในแต่ละกรณี เหมาะกับการบรรจุสิ่งของต่าง ๆ เช่น อาหารทั้งที่เป็นของแห้งหรือมีน้ำ หรือสิ่งของที่ต้องการความปลอดภัยและความสะดวกในการเคลื่อนย้ายอื่น ๆ
จากการที่มนุษย์ได้คิดนำวัสดุที่มีตามธรรมชาติมาประดิษฐ์เป็นบรรจุภัณฑ์ใช้ในชีวิตประจำวันดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ความพยายามและความคิดสร้างสรรของมนุษย์ก็ยังไม่สิ้นสุดเมื่อเกิดความต้องการขยายให้กว้างขึ้น เช่น การขยายขนาด และจำนวนของสินค้า การเคลื่อนย้ายของใหญ่ ๆ จำนวนมากต้องการบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม และแม้เมื่อความเจริญก้าวหน้าทางด้านการตลาดมากขึ้น บรรจุภัณฑ์ก็เข้ามามีบทบาทใช้เป็นเครื่องมือในทางการตลาดด้วย เช่น ใช้เป็นเครื่องช่วยในด้านการส่งเสริมการจำหน่าย ดังนั้นจึงได้มีการค้นคว้าคิดประดิษฐ์บรรจุภัณฑ์แบบใหม่ ๆ ตลอดจนปรับปรุง และค้นหาวัสดุที่ใช้ในการบรรจุให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น จนในที่สุดปัจจุบันเรามีวัสดุที่ใช้เพื่อการบรรจุภัณฑ์มากมายหลายชนิด อาทิเช่น กระดาษชนิดต่าง ๆ แผ่นโลหะ ใยสังเคราะห์ แก้ว พลาสติก ไม้ ฯลฯ


วิธีสร้าง Text 3D ใน Photoshop

เมื่อเปิดโปรแกรม Photoshop ขึ้นมาแล้วนะค่ะ ให้สร้างเลเยอร์ใหม่ แล้วกดปุ่มคีย์ T เพื่อพิมพ์ Text 
ลงไป (อย่าลืม ปรับขนาดของ Text และเลือกประเภทของ Text ให้เรียบร้อย)
  • จากนั้นไปที่คำสั่ง ..... 3D > Repousse' > Text Layer...
  • โปรแกรมจะเตือนว่า คำสั่งนี้จะทำให้ Text จะกลายเป็นวัตถุ เราจะไม่สามารถเปลี่ยนประเภทของ 
  • Text ได้อีก ให้กด Yes ไปเลยค่ะ  จากนั้นโปรแกรมจะเปิดพาเนล Repousse'
กรอปของ Repousse' Shape Presets จะมีรูปทรง 3D สำเร็จแบบต่างๆมากมายให้เราเลือก (*ใช้ใน
กรณีที่ไม่อยากปรับค่าต่างๆเอง)


ที่กรอปของ Extrude
- Depth คือ ใช้เพิ่ม-ลด ความลึก
- Scale คือ ใช้เพิ่ม-ลด ขนาดของความลึก
- Twist คือ ใช้เพิ่ม - ลด การหมุนของความลึก (*หากใส่ค่านี้ ความลึกของ Text จะเกิดการหมุนเกลียว)- ที่ Shear คือการกำหนดให้ความลึกเป็นเท่ากันทั้งหมด 
- ที่ Bend คือการกำหนดให้ความลึกโค้งเว้า โดยจะใช้งานร่วมกับช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆด้านหลัง เพื่อกำหนด
ทิศทางการโค้งให้กับความลึก

- ที่ X Angle และ Y Angle เป็นการกำหนดหันด้านที่แกน X และ Y ค่ะ

ที่กรอปของ  Inflate ตรงนี้จะใช้ปรับความนูน ซึ่งจะทำให้ด้านที่เลือก พองขึ้นเหมือนลูกโป่งนะค่ะ
- Sides ใช้เลือกด้านที่จะปรับให้นูน เช่น Front (ด้านหน้า) และ Back (ด้านหลัง)
- Angle ใช้เพิ่ม - ลด ความนูน 
- Strength ใช้เพิ่มความแข็งให้กับขอบ

ที่กรอปของ Materials ใช้กำหนดประเภทของพื้นผิว
- All  กำหนดให้ทุกด้านใช้ Material ชนิดเดียวกัน  
- Front  ใส่ Material ให้กับด้านหน้า
- Bevel1 ใส่ Material ให้กับด้านนูนของ Bevel1
- Sides ใส่ Material ให้กับความลึก 
- Bevel2 ใส่ Material ให้กับด้านนูนของ Bevel2
- Back ใส่ Material ให้กับด้านหลัง

* นอกจากนี้เรายังสามารถเลือก Material ชนิดอื่นได้ โดยการหาอัพโหลดมาจากแหล่งต่างๆใน Internet
 เมื่อโหลดมาแล้วให้เอาไปใส่ในแฟ้มดังนี้ค่ะ C:/Adobe /Adobe Photoshop CS5/Presets/Materials
(ขึ้นอยู่กับว่าเราติดตั้งไว้ที่ไดร์ไหน)


ที่กรอปของ Scene Settings ตัวนี้จะใช้กำหนดบรรยากาศโดยรวมของฉากนะค่ะ
- Lights ใช้เลือกชนิดของแสงไฟ 
- View ใช้เปลี่ยนมุมมอง หรือการหันด้าน คล้ายกับการเปลี่ยนมุมมองที่หน้า Viewport ของโปรแกรม 3
D ทั่วไป

- Render Settings ใช้กำหนดรูปแบบของการแสดงภาพ (อธิบายทั้งหมดคงไม่ไหว แต่คนเล่นโปรแกรม 3
D บ่อยๆจะรู้)

- Mesh Quality ใช้กำหนดความละเอียดในการแสดงผล

ที่กรอปของ Bevel ตัวนี้จะใช้เพิ่มความหนาแบบต่างๆ ขึ้นมาให้กับหน้าด้านที่เลือกค่ะ (คล้ายกับ
 Inflate แต่ Bevel จะเพิ่มความหนามาทับเป็นเหลี่ยมๆ แต่ Inflate จะทำให้ด้านที่เลือกขยายนูนพองออก
ไป)


- ที่ Sides ใช้เลือกด้านที่จะปรับแต่ง เช่น Front (ด้านหน้า) และ Back (ด้านหลัง)
- ที่ Height คือความสูงของ Bevel
- ที่ Width คือความกว้างของ Bevel
- ที่ Contour ใช้เลือกชนิดของ Bevel แบบสำเร็จรูป 
(*เราสามารถเลือกรูปแบบของขอบเพิ่มเติมได้โดยการคลิกที่ปุ่ม สามเหลี่ยมเล็กๆที่มุมบนขวา เลือก
Contours)



เครื่องมือต่างๆที่ใช้ในปรับมุมมองของวัตถุ 3D 
เครื่องมือเหล่านี้จะอยู่ที่ซ้ายบนของ พาแนล Repousse'  
  • Rotate the Mesh ใช้หมุนรอบด้านแบบ 360 องศา
  • Roll the Mesh  ใช้หมุนเฉพาะด้านหน้า
  • Pan the Mesh ใช้จับเคลื่อนย้าย ไปยังตำแหน่งที่ต้องการ 
  • Slide the Mesh  ใช้ Zoom ภาพ เข้า -ออก
  • Scale the Mesh ใช้เพิ่ม - ลด ขนาดของภาพหรือวัตถุ
  • Return to initial mesh position กลับไปที่ค่าเริ่มก่อนที่จะทำการ เคลื่อนย้าย หมุน หรือ Zoom
---------------------------------------------------

* หลังจากปรับแต่งเสร็จแล้ว 
เราสามารถกลับไปแก้ไข Text 3D ใหม่ได้อีก โดยให้ไปที่คำสั่ง 3D >
 Repousse' > Edit in Repousse'... 
หรือ คลิกขวาบนที่พื้นที่ว่างหลังเลเยอร์ Text 3D และเลือกคำสั่ง  Edit in Repousse'...  ก็ได้เช่นกันค่ะ

----------------------------------------------------

*สำหรับตัวอย่างในการปรับแต่งเปลี่ยนสี ให้กับ Text 3D แบบง่ายๆนะค่ะ

หลังจากสร้าง Text 3D เสร็จแล้ว เราจะเห็นว่ามันติดคำสั่งของ 3D พ่วงท้ายมา (ที่เป็นรูปกล่องสี่เหลี่ยม
สีเทาเล็กๆในเลเยอร์ ที่รูปด้านล่าง) เพื่อให้ต่อการแก้ไขและเปลี่ยนสีใหม่ เราจะต้องทำให้มันกลายเป็น
วัตถุธรรมดาเสียก่อนค่ะ


- ให้คลิกขวาบนที่พื้นที่ว่างหลังเลเยอร์ Text 3D และเลือกคำสั่ง Convert to Smart Object- และให้คลิก
ขวาบนที่พื้นที่ว่างหลังเลเยอร์ Text 3D อีกครั้ง และเลือกคำสั่ง Rasterize Layer
หลังใช้คำสั่ง Text 3D ก็จะกลายเป็นภาพธรรมดาแล้ว 
   เราจะเปลี่ยนสีให้ Text โดยขั้นตอนแรก.. ให้เลือกสีใหม่ที่ต้องการในช่อง  Foreground และ
 Backgroundและไปที่คำสั่ง Image > Adjustment > Gradient Map...สีที่เราเลือกไว้ในช่อง
 Foreground และ Background จะถูกนำมาไล่เฉดตามความเข้ม - จางให้กับ Text อัตโนมัติ
* เราสามารถเลือกการไล่เฉดสีแบบอื่นโดยให้คลิกที่ ช่องสามเหลี่ยมเล็กๆที่ด้านขวา ตามภาพข้างล่าง
หลังจากเปลี่ยนสีให้กับ Text ใหม่แล้ว  คราวนี้ข้าพเจ้าจะสร้าง Text 3D ขึ้นมาอีก หลังจากทำให้กลาย
เป็น 3D แล้ว...     แต่ในครั้งนี้ ที่ขั้นตอนของการเปลี่ยนสี Gradient map... ข้าพเจ้าไม่ชอบเฉดของมันที่น้อยเกินไป 
เลยดับเบิ้ลคลิกที่ช่องสีในพาแนล Gradient map... เพื่อสั่งให้โปรแกรมเด้งหน้าพาแนล Gradient Editor
 ขึ้นมา จากนั้นก็เพิ่มจุดสีให้มากขึ้น (ในขั้นการใส่สี Gradient แล้วแต่เราประยุกต์ใช้นะค่ะ เราจะทำหลายๆ
สีไว้ก่อน แล้วค่อยใช้คำสั่ง Image > Adjustment > Gradient Map... ทีหลังก็ได้ )หลังจากเปลี่ยนสี
ใหม่ที่ต้องการเรียบร้อยแล้ว.... 

6 สิงหาคม 2555

Panorama Soy Ink หมึกพิมพ์ไม่เปรอะมือ ไม่เปื้อนโลก

รู้สึกไม่ดีทุกครั้งที่จับหนังสือพิมพ์แล้วมือดำ ไม่อยากดมกลิ่นเหม็นที่มีมะเร็งเป็นของแถม แถมยังอยากร่วมใส่ใจสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการใช้หมึกพิมพ์ธรรมชาติจากน้ำมันพืชสิ


รู้หรือไม่ที่ สหรัฐอเมริกา มี หมึกพิมพ์จากน้ำมันถั่วเหลือง มาตั้งแต่ ค.ศ.1987 ซึ่งได้อานิสงส์จากการหา "พลังงานทดแทน" เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำมันปิโตรเลียม

คุณ ทองดี ศรีกุลศศิธร ผู้บริหารแห่ง บริษัท พาโนราม่า ซอย อิ้งค์ จำกัด ได้คลุกคลีอยู่ในวงการงานพิมพ์มานาน และพบว่าหมึกพิมพ์ที่ทำมาจากสารเคมีและน้ำมันปิโตรเลียมนั้น มีกลิ่นเหม็น เป็นที่มาของสาร VOCs(Volatile Organic Compounds)  สารก่อมะเร็งตัวเดียวกันกับที่อยู่ในเขม่าควันรถยนต์ จึงพยายามหาวิธีแก้ไขปัญหา และได้ศึกษาการผลิตหมึกพิมพ์น้ำมันถั่วเหลืองของอเมริกา
ในที่สุดก็พัฒนาการผลิตหมึกพิมพ์จากธรรมชาติได้สำเร็จ ภายใต้แบรนด์ "Panorama Soy Ink" ในปีพ.ศ. 2539 และได้รับสิทธิบัตร "Hybrid Technology Soy Ink" หนึ่งเดียวในโลก
โดยนำพลังงานทดแทนอย่าง ปาล์ม ที่หาได้ง่ายในเมืองไทยมาผสมกับ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันพืช รวมถึงผงหมึกซึ่งได้จากหินสีธรรมชาติ จนกลายมาเป็นน้ำหมึกที่มั่นใจได้ว่าผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ ปลอดภัยต่อมนุษย์และไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ 100% ไร้กลิ่นเหม็นของสารเคมี และไม่เลอะเทอะเปรอะเปื้อนมือ
นอกจากนี้กระดาษที่พิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์ธรรมชาติยังสามารถนำไป รีไซเคิลได้ถึง 80% ส่วนกระดาษที่พิมพ์จากหมึกพิมพ์ปิโตรเลียม่สามารถรีไซเคิลได้เพียง 30% เท่านั้น   ใช่ว่าจะมีดีเรื่องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น เมื่อว่ากันถึงเรื่องคุณภาพแล้ว หมึกพิมพ์น้ำมันพืชมีดีกว่าหมึกพิมพ์ปิโตรเลียมด้วยซ้ำ ถึงขั้นได้รับการประทับตรา "contajns soys oil" บ่งบอกว่าผ่านการตรวจสอบคุณภาพและโรงงานผลิตจากAmerican Soybean Association แล้ว แถมยังให้ความสว่างสดใสและความคมชัดของสีมากกว่าด้วย


หมึกพิมพ์น้ำมันพืช Panorama Soy Ink นี้ สามารถพิมพ์ได้บนวัสดุหลายหลาย ไม่ว่าจะเป็นกระดาษ ผ้า พลาสติก ไม้ เมลามีน กระดาษฟอยส์ รวมถึงบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร ซึ่งสามารถสัมผัสกับอาหารได้โดยตรง เนื่องจากเป็นหมึกพิมพ์จากธรรมชาติ
ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ในปัจจุบันที่ใช้หมึกพิมพ์น้ำมันพืชนี้ อาทิ สำนักพิมพ์คุรุสภา นิตยสารทุกเล่นในเครือแกรมมี่ แก้วกระดาษในเซเว่น-อีเลฟเว่น และแพคเกจจิ้งของเคเอฟซี
เชื่อหรือไม่ว่าหนังสือพิมพ์ของบ้านใกล้เรือนเคียงเราอย่างเขมรนั้นยังใช้หมึกพิมพ์ธรรมชาติในการพิมพ์ทั้งหมด เพราะPanorama ได้แบ่งปันหมึกพิมพ์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนี้ส่งออกไปยังต่างประเทศด้วย ไม่ว่าจะเป็น เขมร ลาว เวียดนาม ฮ่องกง ออสเตรเลีย เยอรมัน ไปจนถึง อิตาลี นู่น



ถึงอย่างนั้นก็ตาม หมึกพิมพ์ธรรมชาติ ก็ยังได้รับความนิยมน้อยอยู่ เนื่องจากราคาต่อหน่วยสูงกว่า หมึกพิมพ์เคมี แต่หากลองเทียบกับปริมาณงานที่ได้แล้ว หมึกพิมพ์น้ำมันพืชสามารถพิมพ์ได้จำนวนมากกว่าในปริมาณน้ำหมึกที่เท่ากัน
แต่คุณทองดีเองก็ยังคงมุ่งมั่นที่จะทำตามเจตนารมณ์ของบริษัทตามคำนิยามที่ว่า "เพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม"
สินค้าที่ใช้หมึกถั่วเหลือง





บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม

ความเป็นนวัตกรรม 
•นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ระดับประเทศ ในด้านผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ประเภทใช้ครั้งเดียวจากชานอ้อยซึ่งเป็นวัตถุดิบธรรมชาติเหลือใช้จากการเกษตร โดยการเติมตัวเชื่อมประสาน (binder) ประเภทพอลิเมอร์ที่เหมาะสม ทำให้ได้บรรจุภัณฑ์ที่มีความสวยงาม ยืดหยุ่นไม่แตกหักง่าย สามารถบรรจุของร้อน เช่น น้ำร้อน น้ำมันร้อน และของเย็นได้ สามารถใช้ในเตาไมโครเวฟ และที่สำคัญคือสามารถย่อยสลายได้เองในธรรมชาติ และมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค 
•เป็นนวัตกรรมด้านกระบวนการผลิตระดับประเทศ ทำให้สามารถขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ได้ครั้งละหลายๆ ชิ้น โดยสามารถควบคุมปริมาณเยื่อชานอ้อยได้สม่ำเสมอ รวมถึงกระบวนการอบแห้งด้วยไอร้อน และการออกแบบแม่พิมพ์ให้เหมาะสม 

ความเป็นไปได้ด้านเทคโนโลยี 
•เทคโนโลยีที่นำมาใช้ในโครงการได้มีการวิจัยและพัฒนาในประเทศจีนมากกว่า 10 ปี ในด้านสูตรการผลิต ตัวเชื่อมประสาน การออกแบบเครื่องจักร กระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ และการออกแบบแม่พิมพ์
•ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นในโรงงานต้นแบบได้ผ่านการทดสอบจาก SGS ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำของโลกในการทดสอบผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามมาตรฐานโลก ในด้าน 
•ความทนทานในอุณหภูมิต่ำ -10 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง 
•ความทนทานในการบรรจุน้ำร้อน 95 ? 5 องศาเซลเซียส 
•ความทนทานในการบรรจุน้ำมันร้อน 150 ? 5 องศาเซลเซียส 
•การปลอดสารฆ่าแมลง สารตกค้าง โลหะหนัก ที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค 

ความเป็นไปได้ด้านธุรกิจ 
•ประเทศไทยเป็นแหล่งวัตถุดิบธรรมชาติที่เหลือใช้จากการเกษตร (biomass) หลากหลายชนิดที่สามารถนำมาเป็นวัตถุดิบในโครงการได้ 
•บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตได้มีคุณภาพสูงกว่าคู่แข่งในตลาดปัจจุบัน ในขณะที่มีราคาใกล้เคียงกัน จึงทำให้มีโอกาสแข่งขันในตลาดได้อย่างประสบความสำเร็จ 
•เป็นผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในกระแสความต้องการของตลาดโลกด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม 
•มีการแบ่งส่วนทางการตลาด (segment) อย่างชัดเจนกับบริษัทร่วมทุนจากประเทศจีน โดยผู้เสนอโครงการเป็นผู้ดูแลตลาดทั้งหมดยกเว้นประเทศจีน 
•ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นในโรงงานต้นแบบได้รับรางวัลด้านผลิตภัณฑ์ย่อยสลายได้จากการแสดงสิ่งประดิษฐ์ในประเทศเกาหลีและฮ่องกง และได้รับการคัดเลือกให้เป็นบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่ซิดนีย์ 2000 

ประโยชน์และผลกระทบ 
ด้านเศรษฐกิจ 
•เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันด้านอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ทั้งในและต่างประเทศ (มูลค่าของตลาดบรรจุภัณฑ์ของประเทศสหรัฐอเมริกามีขนาด 3.8 แสนล้านบาทต่อปี) 
•สร้างมูลค่าเพิ่มทางด้านเศรษฐกิจให้กับชานอ้อย จากเดิมที่มักถูกนำไปเผาเป็นเชื้อเพลิง 
•เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น อุตสาหกรรมการผลิตเยื่อชานอ้อย อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักร 
•เป็นการริเริ่มให้เกิดสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่มีโอกาสประสบความสำเร็จด้านธุรกิจสูง ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดธุรกิจในลักษณะเดียวกันมากขึ้นในประเทศ 
•สามารถลดงบประมาณที่ใช้ในการกำจัดขยะมลพิษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มขยะบรรจุภัณฑ์จากโฟม 

ด้านสังคม 
•ลดปัญหาปริมาณขยะจากการใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทโฟมและพลาสติก ซึ่งมีมากถึง 14.4 ล้านตันต่อปี (ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ พ.ศ. 2547) 
•เป็นตัวอย่างโครงการที่สามารถเร่งให้เกิดการผลักดันนโยบายสิ่งแวดล้อมของประเทศได้อย่างรวดเร็ว 
•ส่งเสริมให้เกิดการวิจัยและพัฒนาการนำวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรมาเพิ่มมูลค่า 
•กระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวและปลุกจิตสำนึกด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในทุกกลุ่มของประชาชน