ปฏิทิน

27 กรกฎาคม 2555

การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามและการแสดงออก

            การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีเป้าหมายหลักเพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้า เพื่อการนี้การออกแบบแพ็กเกจไม่สามารถเพียงแค่แจ้งลูกค้า แต่ยังกระตุ้นความรู้สึกและการสื่อสารอารมณ์ บรรจุภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพลักษณะที่น่าสนใจ, ประทับใจกับความคิดสร้างสรรค์และเป็นสิ่งที่ดีเพียงแค่มีบนหิ้ง
เป็นส่วนหนึ่งที่ต่อเนื่องของชุดแรงบันดาลใจของเราวันนี้เรานำเสนอจันทร์ตัวอย่างที่ดีของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามที่น่าสนใจและการสื่อสาร เราได้พยายามยังที่จะนำเสนอความคิดสร้างสรรค์และที่ผิดปกติซึ่งคุณสามารถใช้สำหรับโครงการของคุณ แกลเลอรี่ด้านล่างนี้คุณยังจะได้พบการอ้างอิงต่อไปที่จะบล็อกและทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์

  • คุณอาจต้องการที่จะดูที่โพสต์ที่เกี่ยวข้องกับเรา   
  • สวยและ Original ออกแบบผลิตภัณฑ์
  • เฉลิมฉลองการออกแบบและวินเทจย้อนยุค
  • นวัตกรรมการออกแบบและอุปกรณ์

(หมายเหตุด้าน Smashing ของคุณมีอยู่แล้วซื้อหนังสือ Smashing แบรนด์ใหม่ # 3 หนังสือแนะนำเทคนิคการปฏิบัติใหม่และความคิดใหม่ทั้งหมดสำหรับการออกแบบเว็บโปรเกรสรับหนังสือของคุณในวันนี้.)

                             ........................................................................................................
       Atypyk

      Atypyk เป็นกลุ่มศิลปินจากจิตใจความคิดสร้างสรรค์ภาษาฝรั่งเศส ผลิตภัณฑ์ของพวกเขาเป็นสมาร์ทยังแดกดันและความคิดของพวกเขาจะบรรจุลงในบรรจุภัณฑ์ที่ดีตัวอย่างภาพที่สองเป็นบรรจุภัณฑ์ของ 6pack แจกัน-(กระป๋องไม่รวม)


บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง

                วันนี้ชาว Packaging City จะมาพบกับความใส่ใจสิ่งแวดล้อมของชาวญี่ปุ่นในเชิงบรรจุภัณฑ์กัน ที่เค้าพยายามคิดใส่ใจแม้แต่ในมุมเล็กๆก็ตาม ซึ่งเรื่องที่เราจะมานำเสนอนั้น มีทั้งหมด 4 เรื่อง เป็นการแยกขยะ 2 เรื่อง และการพับแบนเพื่อลดปริมาณขยะ 2 เรื่อง ลองชมกันดูและเชิญชวนเริ่มหามุมมองดีๆช่วยโลกกันนะ^^





Trip View Bowl

Designed by Trip View Bowl, Taiwan.


Trip View Bowl compresses the view of a specific Taiwanese landscape in a 12cm-in-diameter blue and white porcelain bowl. The three-dimensional panorama map is amazingly painted inside the bowl. Rotating the bowl will virtually take you into the sky looking down at this landscape. All famous sights and stores are also labeled in this interesting and practical souvenir so tourists could take all wonderful memories of the tour home.

Trip View Bowl displays a kind of delicacy unreachable by printed patterns or hand-drawing. You'd absolutely agree it is a piece of delicate work of art, if and even if observing it with a magnifying glass! This artwork also represents 100% Taiwan-made identity, from its creativity to the firing process, and from the bowl itself to its packaging.

In order to adhere to environmental protection, we used medium density fiberboard as packaging materials. The open design allows consumers to see, touch, and the most important thing is to protect the bowl well. The packaging can even protect a fall from five meters as it is designed to self-crumble to save the bowl from breaking.

A magnifying glass is also supplied together with the packaging so that the details can be made available to everyone. We spent six months testing, fix, find the right process, product or even months to complete on the warehouse and other packaging predicament, finally completed in accordance with the objectives we set a new packaging, and reached the following requirements:

Consumer


Can accommodate more accessories, including a magnifying glass, display, and a fish-eye aerial view.
Can accommodate a complete in English and Japanese language product information.

Environmental

Packaging reduction: improve the material utilization of 24.4%.
Brand power to change the packaging, ink reduction of 100%.
Paper vine to twine, weight reduction of 50%.
Reuse: Packaging can serve as a storage box, and can be easily stacked.
Recycling: the extension of MDF material, and asked the formaldehyde content in line with E1 standard.
All products without plastic.

Quality process requirements

Shift to CNC milling process, packaging components tolerances less than ± 0.05mm, precision 20 times better than the old packaging.
Commissioned by ISO 9000 certified professional plant assembly, packaging.
High-precision components eliminates the possibility of operator injury and increase yield.
Packaging components foolproof design mistakes to avoid assembly problems.


13 กรกฎาคม 2555

" แอบสแตรก "

        ทัศนศิลป์แอบสแตรก (Abstract Visual Art) เป็นกลุ่มทัศนศิลป์หนึ่งในศตวรรษที่ 20 ตรงกับภาษาว่า นามธรรม เป็นทัศนศิลป์แบบใช้ความนึกคิด มีแต่องค์ประกอบของเส้น สี รูปร่าง พื้นผิว ส่วนรูปทรงถูกตัดทอนเหลือแกนแท้ของโครงสร้างเท่านั้น แบบอย่างที่นำมาของศิลปินกลุ่มนี้ ได้แก่ โครงสร้างของงาน เซซาน ที่ใช้สีสันเป็นอิสระและของแวนก๊อก ที่แสดงงรูปทรงอันบิดเบี้ยวในการให้เส้นพร้อมกับงานของโกแกง สุดท้ายเป็นการสังเคราะห์รูปทรงและสี ในงานกลุ่มคิวบิสม์ของปิกัสโซ ที่ลดสกัดตัดทอนรูปทรงจากสิ่งที่มองเห็น

         สุนทรียภาพและรูปแบบของงานจิตรกรรมและภาพพิมพ์ลัทธิแอบสแตรก   ได้แก่
               1. แสดงรูปร่างมากกว่ารูปทรง ส่วนใหญ่จะเป็นรูปร่างอิสระ เป็นรูปทรงไม่แน่นอนมองมรู้เรื่อง ไม่สามารถรับรู้ได้ว่าเป็นผลงานของชาติใดเป็นแบบสากล
               2. คำนึงถึงเส้น และสีเฉย ๆ ไม่แสดงเรื่องราวแน่ชัด การถ่ายทอดทางการรับรู้
               3. เรื่องราวใช้สี เส้น รูปร่าง แทนความรู้สึกของศิลปินเอง ไม่คำนึงถึงผู้ดู
               4. ตัดทอนสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในรูปร่างหรือรูปทรงง่าย ๆ เหลือเพียงโครงสร้างแท้หรือโครงสร้างภายในและภายนอก
               5. รูปที่นำมาแสดงไม่ใช่เรื่องราวที่แน่นอน เป็นเพียงสื่อให้ผู้ดูคิดเท่านั้น
               6. รูปแบบนามธรรม คือ ไม่มีตัวตนให้เห็นว่าเป็นรูปทรงอะไร ประเภทใด
                







ความหมายของกราฟฟิก

 
 
 
Computer Grapic" กราฟิก " ( Graphic ) เป็นคำมาจากภาษากรีกว่า Graphikos หมายถึงการเขียนภาพด้วยสีและเขียนภาพขาวดำ และคำว่า " Graphein " มีความหมายทั้งการเขียนด้วยตัวหนังสือและการสื่อความหมายโดยการใช้เส้น เมื่อรวมทั้งคำ Graphikos และ Graphein เข้าด้วยกันวัสดุกราฟิกจะหมายถึงวัสดุใด ๆ ซึ่งแสดงความจริง แสดงความคิดอย่างชัดเจน โดยใช้ภาพวาด ภาพเขียน และอักษรข้อความรวมกัน ภาพวาดอาจจะเป็น แผนภาพ ( Diagram ) ภาพสเก็ต ( Sketch ) หรือแผนสถิติ ( Graph ) หรืออาจเป็นคำที่ใช้เป็นหัวเรื่อง ( Title ) คำอธิบายเพิ่มเติมของแผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ และภาพโฆษณา อาจวาดเป็นการ์ตูนในรูปแบบหรือประเภทต่างๆ ภาพสเก็ต สัญลักษณ์ และภาพถ่าย สามารถใช้เป็นวัสดุกราฟิกเพื่อสื่อความหมายในเรื่องราวที่แสดงข้อเท็จจริงต่าง ๆได้ วัสดุกราฟิกทางการศึกษา เป็นสื่อการสอนที่สื่อถึงเรื่องราวต่าง ๆ โดยใช้เส้น ภาพวาดและสัญลักษณ์ ที่ใกล้เคียงความเป็นจริง แทนคำพูดซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของแผนที่ แผนภาพ ภาพโฆษณา การ์ตูน และแผนสถิติ ฯลฯ
ประวัติความเป็นมาของ Computer Graphic เป็นอย่างไร
 ในปี ค.ศ. 1940 คอมพิวเตอร์จะแสดงภาพกราฟิกโดยใช้เครื่องพิมพ์ โดยรูปภาพที่ได้จะเป็นภาพที่เกิดจากการใช้ตัวอักษรมาประกอบกัน
ในปี ค.ศ. 1950 สถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาซูเซสต์ (Massachusetts Institue Technology : MIT] ได้พัฒนาคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหลอดภาพ CRT(Cathode Ray Tube) เป็นส่วนแสดงผลแทนเครื่องพิมพ์ เนื่องจากมีความต้องการที่จะให้การติดต่อระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์มีความเร็วยิ่งขึ้น
ในปี ค.ศ. 1950 ระบบ SAGE (Semi - Automatic Ground Environment) ของกองทัพอากาศ สหรัฐอเมริกาสามารถแปลงสัญญาณจากเรดาร์ให้เป็นภาพบนจอคอมพิวเตอร์ได้ ระบบนี้เป็นระบบกราฟิก เครื่องแรกที่ใช้ปากกาแสง (Light Pen : เป็นอุปกรณ์สำหรับรับข้อมูลชนิดหนึ่ง) สำหรับการเลือกสัญลักษณ์ บนจอภาพได้
ในปี ค.ศ. 1950 - 1960 มีการทำวิจัยเรื่องเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมาก ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบของระบบคอมพิวเตอร์กราฟิกสมัยใหม่ ตัวอย่างเช่น
ในปี ค.ศ. 1963 วิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของ อีวาน ซูเธอร์แลนด์ (Ivan Sutherland) เป็นการพัฒนาระบบการวาดเส้น ซึ่งผู้ใช้สามารถกำหนดจุดบนจอภาพได้โดยตรงโดยการใช้ปากกาแสง จากนั้นระบบกราฟิกจะสามารถลากเส้นเชื่อมจุดต่างๆ เหล่านี้เข้าด้วยกัน กลายเป็นภาพโครงสร้างรูปหลายเหลี่ยม ระบบนี้ได้กลายเป็นหลักการพื้นฐานของโปรแกรมช่วยในการออกแบบระบบงานต่างๆ เช่น การออกแบบระบบไฟฟ้า และการออกแบบเครื่องจักร เป็นต้น ในระบบหลอดภาพ CRT สมัยแรกนั้น เราสามารถวาดเส้นตรงระหว่างจุดสองจุดบนจอภาพได้ แต่ภาพเส้นที่วาดจะจางหายไปจากจอภาพอย่างรวดเร็ว จึงต้องมีการวาดซ้ำลงที่เดิมหลายๆ ครั้งในหนึ่งวินาที เพื่อให้เราสามารถมองเห็นว่าเส้นไม่จางหายไป ซึ่งระบบแบบนี้มีราคาแพงมากในช่วงต้นปี ค.ศ. 1960
แต่ต่อมาในปี ค.ศ. 1965 จึงมีราคาถูกลงเนื่องจากบริษัท ไอบีเอ็ม (IBM) ได้ผลิตออกมาขายเป็นจำนวนมากในราคาเครื่องละ 100,000 ดอลลาร์ จากการที่ราคาของจอภาพถูกลงมากนี่เอง ทำให้สาขาคอมพิวเตอร์กราฟิกเริ่มเป็นที่สนใจของคนทั่วไป
ในปี ค.ศ. 1968 บริษัท เทคโทรนิกส์ (Tektronix) ได้ผลิตจอภาพแบบเก็บภาพไว้ได้จนกว่าต้องการจะลบ (Storage - Tube CRT) ซึ่งระบบนี้ไม่ต้องการหน่วยความจำและระบบการวาดซ้ำ จึงทำให้ราคาถูกลงมาก บริษัทตั้งราคาขายไว้เพียง 15,000 ดอลลาร์เท่านั้น จอภาพแบบนี้จึงเป็นที่นิยมกันมากในช่วงเวลา 5 ปี ต่อมา กลางปี ค.ศ. 1970 เป็นช่วงเวลาที่อุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์เริ่มมีราคาลดลงมาก ทำให้ฮาร์ดแวร์ของระบบคอมพิวเตอร์กราฟิกมีราคาถูกลงตามไปด้วย ผู้ใช้ทั่วไปจึงสามารถนำมาใช้ในงานของตนได้ ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกเริ่มแพร่หลายไปในงานด้านต่างๆ มากขึ้น สำหรับซอฟต์แวร์ทางด้านกราฟิกก็ได้มีการพัฒนาควบคู่มากับฮาร์ดแวร์เช่นกัน ซึ่งมีการเริ่มต้นจาก อีวาน ซูเธอร์แลนด์ ผู้ซึ่งได้ออกแบบวิธีการหลักๆ รวมทั้งโครงสร้างข้อมูลของระบบคอมพิวเตอร์กราฟิก ต่อมาก็มี สตีเฟน คูน (Steven Coons, 1966) และ ปิแอร์ เบเซอร์ (Pierre Bazier , 1972) ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับการสร้างเส้นโค้งและภาพพื้นผิว ทำให้ปัจจุบันเราสามารถสร้างภาพ 3 มิติ ได้สมจริงสมจังมากขึ้น ในช่วง 10 ปีต่อมาได้มีการพัฒนาวิธีการสร้างภาพมากมายสำหรับใช้ในระบบคอมพิวเตอร์กราฟิก และปัจจุบันเราก็ได้เห็นผลงานที่สวยงามและแปลกตา ซึ่งเป็นผลจากการศึกษาวิจัยต่างๆ ในอดีตนั่นเอง

สิ่งสำคัญที่กราฟฟิกดีไซเนอร์ต้องมี

1. ความชำนาญ คือความชำนาญในการใช้โปรแกรมกราฟฟิกต่าง ๆ อาจจะไม่ต้องชำนาญหลาย ๆ โปรแกรม แต่ขอให้รู้จริงเพียงโปรแกรมเดียวก็เหลือเฟือแล้ว
ความชำนาญ สามารถหาได้จากหลายทาง แต่ที่แน่ ๆ ก็คือ การฝึกฝน ลำพัง การอ่าน หรือ การหาความรู้แต่เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถที่จะทำให้คนเก่งกล้าสามารถได้ แต่ต้องอาศัยการฝึกหัดบ่อย ๆ จนเกิดความชำนาญ รู้จริง รู้ลึก ในสิ่งนั้น ผมจะขอแนะนำวิธีการฝึกฝนตนเองสัก 3 วิธี ให้เป็นแนวทาง ตามแต่จริตของแต่ละคนนะครับ

1.1 วิธีการฝึกตามแบบอย่างการฝึก คือ การฝึก ตามหนังสือ หรือ บทความ วิธีนี้ดี คือ ไม่ต้องคิดเอง แค่ลองทำตามเท่านั้น แต่จะไม่ทำให้คุณเกิดความคิด แรกเริ่ม ควรจะหัดตามวิธีนี้เสียก่อน ถือว่าเป็นก้าวแรกแห่งการฝึกฝน เพื่อนำไปพัฒนาต่อไป ในคราวต่อไป เมื่อเราต้องการทำงานแบบใด เราจะได้มานึกถึง งานเก่า ๆ ที่เคยฝึกไว้ และสามารถนำมาใช้ได้ทันที

1.2 วิธีการตั้งโจทย์ วิธีการตั้งโจทย์เป็นการบังคับตนเองให้ฝึกหัดในวิธีที่แตกต่างออกไปจากที่ตนเองถนัด โดยมีวิธีการตั้งโจทย์แยกย่อย ออกไปดังนี้

1.2.1 การตั้งโจทย์จากเครื่องมือ คือการกำหนดว่าวันนี้เราจะใช้เครื่องมือใดเครื่องมือหนึ่งเป็นพระเอกในงานของเรา เช่น clone stamp , type tool เป็นต้น โดยในงานนั้นจะต้องพยายามใช้เครื่องมือนั้นให้มากที่สุด เครื่องมืออื่น ๆ เพียงแค่เสริมเท่านั้น วิธีนี้มีประโยชน์คือ เราจะได้พัฒนาฝีมือเฉพาะทาง เจาะลึกเป็นตัว ๆ ไปเลย และจะทำให้พื้นฐานของเราแน่นปึ๊ก การฝึกขอให้ลองตั้งโจทย์กับเครื่องมือทุกตัว บางตัวฝึกแค่ครั้ง สองครั้ง ก็ชำนาญ เพราะไม่มีอะไรมาก บางตัวใช้เวลานาน เพราะรายละเอียดและลูกเล่น มีเยอะ

1.2.2 การตั้งโจทย์จากภาพ คือ การเลือกภาพ มาหนึ่ง หรือ สองภาพ หรือ กี่ภาพก็แล้วแต่ แล้วนำมาแต่งอย่างไรก็ได้ตามแต่จะคิดออก ใช้เครื่องมืออะไรก็ได้ตามใจ เทคนิคก็ฟรีสไตล์ วิธีนี้เป็นวิธีที่น่าจะเหมาะกับทุกคนมากที่สุด เพราะสามารถทำตามใจได้มากที่สุด ตั้งแต่การเลือกภาพ จนวิธีการทำงาน ประโยชน์ก็คือ เราจะทำให้เรามีจินตนการเพิ่มขึ้น เมื่อหัดบ่อย ๆ จะเกิดความคิดได้รวดเร็ว และสามารถมององค์ประกอบของภาพได้ดีขึ้น

1.2.3 การตั้งโจทย์จากความต้องการ วิธีนี้เป็นวิธีที่ยาก ให้ลองคิดว่ามีคนมาจ้างเราให้ทำงานสักงานหนึ่ง เราก็ตั้งโจทย์ขึ้นมาเลย เช่น ทำภาพโปสเตอร์ประกวดนายแบบ นางแบบ หรือ หนุ่มสาวแพรว อะไรก็ว่าไป , หรือทำปกซีดีเพลงแดนซ์ , ทำโปสเตอร์เชิญชวนรักษาความสะอาด ,ออกแบบแพ็กเกจ เป็นต้น วิธีนี้เราจะสามารถทำตามใจได้น้อยลง เพราะมีข้อบังคับเพิ่มขึ้น เมื่อฝึกมากเข้า อาจจะกำหนดว่า ต้องมีรายละเอียดของข้อมูลครบถ้วน , ภาพต้องใช้โทนซีเปีย อย่างนี้เป็นต้น การฝึกแบบนี้มีประโยชน์ต่อการทำงานจริง เพราะในการทำงานเราจะเจอลูกค้าหลากหลาย บางคนไม่เข้าใจศิลปะเลย Hard Sell อย่างเดียว เรียกได้ว่าจะขายของอย่างเดียวนั่นแหละ ศิลปะไม่ต้อง ซึ่งสำหรับคนที่สร้างงานศิลปะอย่างเราจะหงุดหงิดมาก ถ้าไม่ได้ฝึกมาก่อน ดังนั้นการฝึกแบบนี้ก็สามารถทำให้เราแบ่งรับแบ่งสู้ระหว่างศิลปะกับธุรกิจได้ และอาจจะมองหารอยต่อระหว่างสองสิ่งนั้นเจอก็ได้

1.3 การฝึกโดยการเลียนแบบ คือ การฝึกโดยทำภาพเลียนแบบงานของคนอื่นเค้าให้เหมือนที่สุด เหมือนในที่นี้คือเหมือนทางเทคนิคนะครับ เช่นคุณไปเห็นงานชิ้นหนึ่ง อาจจะใน หนังสือ , ป้ายรถเมลล์ , เว็บไซต์ ฯลฯ คุณก็มาลองคิดดูว่าเค้าน่าจะใช้เทคนิคอะไรในการสร้างภาพนั้น คุณอาจจะใช้เทคนิคต่างจากเค้าก็ได้ แต่ได้ภาพออกมาเหมือนกัน หรือบางทีคุณกับเค้าอาจจะใช้คนละโปรแกรมเลยก็ได้ แต่ได้ผลลัพธ์ในลักษณะเดียวกัน วิธีนี้แนะนำอะไรได้ไม่มากครับ คนที่จะฝึกวิธีนี้ต้องมีความชำนาญในเครื่องมือและฟังก์ชั่นต่าง ๆก่อน ยิ่งเป็นเทคนิคยาก ๆ ต้องมีความรู้และความชำนาญมาก จากนั้นก็เป็นเรื่องของแต่ละคนที่จะวิเคราะห์เองแล้วล่ะครับ

2. ความรู้ในศิลปะ ในเมื่องานกราฟฟิกดีไซน์ ก็คืองานศิลปะแขนงหนึ่ง ความรู้ทางศิลปะจึงขาดเสียมิได้เลย ความรู้ทางศิลปะพื้นฐานก็ได้แก่ ทฤษฎีสี , การจัดองค์ประกอบ ,ลายเส้น , ลายไทย ,ลวดลายสากล , นอกจากนี้ ก็ควรจะมีความรู้ในการชมงานศิลปะอยู่ด้วย , ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศิลป์ , การแบ่งประเภทงานศิลป์

3. ความคิดสร้างสรรค์ ความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในการสร้างงานศิลปะ การพัฒนาเทคนิคต่าง ๆ ก็ถือเป็นความคิดสร้างสรรค์เหมือนกัน เราต้องพยายามสร้างงานที่แตกต่างออกมา ไม่ว่าจะเป็นในด้านเทคนิค หรือ ด้านการสื่อสารจากภาพสู่ผู้เสพ

4. ความรู้ทางด้านอุปกรณ์เอาท์พุต ทำไมคนที่ทำงานทางด้านกราฟฟิกจึงต้องมีความรู้ทางด้านนี้ เพราะอุปกรณ์เอาท์พุต คือสิ่งสำคัญที่จะแสดงคุณภาพงานของเรา จำไว้เสมอว่า เราทำภาพในเครื่องเราว่าสวยแล้ว แต่ไปดูอีกเครื่องหนึ่ง ภาพของคุณสีจะเพี้ยนไปเลย ยิ่งถ้าคุณทำงานในด้านสื่อสิงพิมพ์ คุณยิ่งต้องระวัง ต้องมีการเซ็ทค่าเอาท์พุต ให้สามารถแสดงสีออกมาได้ถูกต้อง อุปกรณ์อินพุตก็เหมือนกัน แต่อาจจะสำคัญน้อยกว่า สิ่งสำคัญของอุปกรณ์อินพุตก็คือ ต้องนำเข้าภาพที่มีคุณภาพ มีความละเอียดสูง ส่วนเรื่องสี และแสงสามารถมาปรับแต่งกันได้ทีหลัง
สำหรับคนที่ทำงานทางด้านเว็บ คุณอาจจะไม่ต้องระวังเรื่องสีมากนัก สิ่งที่ต้องพึงระวังก็คือ เรื่องของ Browser Browser ต่างค่าย จะแสดงผลที่แตกต่างกัน , Resolution ของหน้าจอ
สำหรับคนที่ทำงานทางด้าน Multimedia Presentation คุณต้องคำนึงถึงคุณภาพของโปรเจ็คเตอร์ ว่าแสดงสีเป็นอย่างไร ต้องมีการทดลองกับโปรเจ็คเตอร์จริง ๆ ก่อน หรือแม้แต่การเอาท์พุต ออกทางทีวีก็ตาม สีที่มองเห็นที่หน้าจอโทรทัศน์ ย่อมแตกต่าง จากสีในจอมอนิเตอร์ของคุณแน่นอน

5. ความสนใจในเหตุการณ์รอบตัวต่าง ๆ ข้อนี้อาจจะไม่จำเป็นนัก แต่ก็มีส่วนสำคัญในการสร้างความแตกต่าง และการเสริมลูกเล่นในงานของคุณ โดยคุณอาจจะนำเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสังคมขณะนั้นมาใส่ในงานของคุณ เพื่อให้งานน่าสนใจ แต่งานนั้นจะมีความโดดเด่นในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น

6. เปิดหูเปิดตา คือการออกไปหาแรงบันดาลใจภายนอก อย่านั่งอยู่แต่ในบ้าน ออกไปภายนอกท่องเที่ยวเสียบ้าง หรือ ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ สวดมนต์ หรือ ทำอย่างอื่นนอกจากนั่งออกแบบอยู่กับบ้านบ้าง เพื่อให้สมองไม่ตัน จะได้มีไอเดียใหม่ตลอดเวลา

ครับก็หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์แก่สมาชิกชาวไทยกราฟบ้างไม่มากก็น้อยนะครับ บางคนอาจจะมีความคิดเห็นแตกต่างจากผม ก็ขอให้ช่วยกันลงคอมเมนต์นะครับ เพื่อที่คนที่ได้มาอ่านทีหลัง เค้าจะได้มีอะไรเปรียบเทียบ จะได้เกิดไอเดียครับ การให้ความรู้แก่ผู้อื่นถือเป็นการทำบุญที่ได้อานิสงฆ์สูงนะครับ ดังนั้น ช่วย ๆ กันคอมเมนต์กันเยอะ ๆ นะครับ (เกี่ยวกันไหมเนี่ย)
บทความจาก Thaigrpah.Com

http://cpa7.exteen.com/20050906/entry

กราฟฟิกดีไซด์ไม่ง่ายอย่างที่ค

พักนี้ไม่รู้พระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรกอย่าง ไรไม่ทราบ ทำงานไปไม่ได้ดั่งใจซักอย่าง ดีไซน์ไปอย่างได้ออกมาอีกอย่าง หลายตัวแล้วนะเนี่ย ทำไมน๊อ เวลาที่ทำ "ฝิ่น" ถึงไม่เค๊ยไม่เคยมีปัญหาอะไรแบบนี้เล้ย พอจับงานออฟฟิศเท่านั้นแหละ เป็นเรื่องทุกที เฮ้อ...กว่าจะหลุดมาได้แต่ละตัว เซ็งจิต!
 
 
ไอ้ความเก่งนี่บางทีมันก็ต้องอยู่ให้ถูกที่ เหมือนกัน คนบางคนนึกว่าตัวเองเก่งซะเต็มประดา โชว์พาวตลอดเวลา นั่นก็รู้ นี่ก็รู้ โน่นก็ทำได้ ไม่รู้เป็นอัจฉริยะมาแต่ชาติปางไหน เก่งซะจนเพื่อนร่วมงานเซ็งกันเป็นแถวๆก็มี
เอนทรี่นี้ไม่มีอะไร แค่ระบายความเซ็ง!.....
อ้อ นี่อีก... เค้กครบรอบ 7 เดือนของเราเมื่อวานนี้
ตอนสั่งๆไปแบบนึงตอนไปรับได้มาอีกแบบนึง
เฮ้อ...แม้แต่เค้กยังไม่ได้อย่างสั่ง นี่ยังดีนะที่อร่อย ไม่งั้นมีเรื่อง!
 
เอาล่ะ...หลังการระบาย
จะทิ้งเอนทรี่ไว้อย่างไร้ประโยชน์ก็ดูจะ
"รก" บล็อกซะเปล่าๆ
คิดได้ดังนั้นจึงจะนำเอาประเภทของ Graphic Designer มาแจกแจงให้พี่ๆน้องๆหลานเหลนโหลน ผู้มีใจรักฝักใฝ่งานด้านนี้ได้รู้แจ้งกันว่า Graphic Designer แต่ละประเภทที่เค้าเรียกๆกันนั้น มีความแตกต่างกันยังไงบ้าง เพื่อจะได้ตอบคำถาม "อยากทำงานอะไร?" ได้ถูกต้องกันมากขึ้นนั่นเอง
ก่อนอื่นมารู้จักคำว่า กราฟิก (Graphic) กันก่อน
คำว่า กราฟิก (Graphic) ที่มักเขียนผิดเป็น กราฟิกส์ กราฟิกส์ กราฟิก นั้น มีรากศัพท์มาจากคำว่า "Graphikos" ในภาษากรีก แปลว่า การวาดเขียน หรือ คำว่า "Graphein" ที่แปลว่า การเขียน ซึ่งมีผู้ให้นิยามไว้หลายลักษณะ ดังนี้
- ศิลปะอย่างหนึ่งที่แสดงออกทางความคิดโดยการใช้เส้น รูปภาพ ไดอะแกรม ฯลฯ
- การสื่อความหมายด้วยภาพวาด ภาพสเก็ชแผนภาพ ภาพถ่าย ที่ต้องอาศัยศิลปะและศาสตร์เข้ามาช่วย เพื่อให้ผู้ดูเกิดความคิดและตีความหมายได้ตรงตามที่ผู้สร้างสรรค์ต้องการสื่อ
- โสตทัศนวัตถุที่ผลิตขึ้นเพื่อแสดงสัญลักษณ์หรือความหมายของสิ่งหนึ่งสิ่งใด ทำให้ผู้ดู มองเห็นความจริง หรือความคิดอันถูกต้องชัดเจนจากกราฟิกส์นั้นๆ
- การพิมพ์ การถ่ายภาพ และการทำหนังสือ
โดยสรุป  กราฟิก หมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้สื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการ 
Graphic Designer คือ นักออกแบบกราฟิก
ซึ่งมีชื่อตำแหน่งต่างๆมากมายหลายประเภท แต่ละตำแหน่งต่างกันยังไง?
 
Web Graphic Designer  คือ นักออกแบบเว็บไซต์ ฟังก์ชั่นในการทำงานคือ การออกแบบหน้าเว็บเพจ ซึ่งในกรณีที่ได้อยู่บริษัทใหญ่ๆ จะมีการแบ่งประเภทงานชัดเจน คนออกแบบหน้าเว็บก็ออกแบบแต่หน้าตาไม่ต้องลงลึกว่าจะ Active ยังไง Link ไปไหน ใช้ Program อะไร Support ฯลฯ (ตำแหน่งที่ต้องลงลึกในส่วนนี้จริงๆ มีชื่อว่า Programmer ซึ่งจะต้องเรียนเกี่ยวกับการเขียน Program มา ไม่ใช่ เรียนนิเทศศาสตร์หรือนิเทศศิลป์--เพิ่มเติม คนที่ชอบจริงๆหรือสนใจศึกษาด้วยตนเองก็สามารถทำได้เหมือนกันเพียงแต่แนะนำ ว่าเวลาจะเลือกเรียนนั้น ถ้าอยากเป็น Programmer ก้เลือกให้ถูกซะตั้งแต่เนิ่นๆ) แต่ถ้าไปอยู่บริษัทเล็กๆ ก็เห็นควรเป็นอย่างยิ่งว่าจะต้องเพิ่มความสามารถด้านโปรแกรมให้มากขึ้น หลากหลายโปรแกรมมากขึ้น เช่น Flash / Dreaweaver / Image Ready เป็นต้น ยิ่งถ้าสามารถเขียนระบบ E-commerce ได้ก็จะเป็นที่ต้องการมากขึ้น

Advertising Graphic Designer คือ ข้าพเจ้าเอง นักออกแบบกราฟิกประเภทนี้มักจะสิงอยู่ใน Advertising Agency ซึ่งแผนกต้นสังกัดจะเท่ห์มากคือ แผนกครีเอทีฟ Advertising Graphic Designer จะเป็นนักออกแบบที่ต้องอยู่กับสินค้านานาชนิด ทำงานออกแบบได้หลายประเภททั้งสิ่งพิมพ์  บิลบอร์ด แพคเกจ โปรแกรมหลักๆที่ ต้องทำได้ทำคล่องคือ Illustrator และ Photoshop (เดี๋ยวนี้ถ้าสามารถทำ 3DMax ได้ด้วยจะเป็นการดีมาก) ในเอเยนซี่ใหญ่ๆอย่าง Ogilvy (คนที่อยากทำงานในวงการโฆษณาควรอย่างยิ่งที่จะทำความรู้จักเอเยนซี่ดังๆไว้ให้มาก ถ้าไม่รู้จักก็ไปทำความรู้จักใน Google ซะนะคะ ก่อนจะไปปล่อยไก่ตอนสมัครงาน) การทำงานโดยส่วนใหญ่นั้นมักจะทำควบคู่กับ Art Director [AD] คือ AD คิด และ Graphic ทำออกมาตามที่คิด ส่วนในเอเยนซี่เล็กๆ 2 ตำแหน่งนี้จะทำหน้าที่รวมกันเป็น 1 คือ คิดเองแล้วทำ (ซะ) ด้วย  (ซึ่งเป็นลักษณะเอเยนซี่ที่เกิดขึ้นเป็นดอกเห็ดในสมัยนี้)
การทำงานในบริษัทโฆษณามีแรงจูงใจที่ดีมาก 2 ประการคือ เงินดี และมีถ้วย คือ มีเวทีให้ทำงานประกวดมากมาย (ทั้ง AD และ Graphic) ถ้าฝีมือดีๆ ได้รางวัลจาก Cannes ก็ยิ่งเป็นที่ต้องการ สามารถที่จะ Up เงินเดือน* แบบข้ามขั้นทีเดียวนะ (*ขึ้นอยู่กับนโยบายบริษัท) คนที่เป็น Graphic ที่แม่นๆเรื่อง Concept หรือมีไอเดียบรรเจิดจะสามารถเปลี่ยนไปสู่ตำแหน่ง AD ได้ไม่ยาก
 
Graphic Designer / Artist ประจำ Graphic House นักออกแบบประจำ Graphic House จะมีลักษณะการทำงานคล้ายเอเยนซี่แต่ไม่มี AD มาเกะกะระราน (เขียนเวอร์ไปงั้นแหละน่า เดี๋ยวจะโดนบรรดา AD มารุมด่าเอา) ทำงานตามใจฉัน ลักษณะงานจะ Freeform มากกว่าทำงานใน Advertising Agency คือ สามารถทำงาน Art มันส์ๆ แปลกแหวกแนวได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่อง Format บังคับ หรือ Coperate Identity ของลูกค้ามากนัก (เช่น โลโก้ต้องอยู่มุมบนซ้าย พื้นขาว ห่างจากขอบ 2 นิ้ว โดยมี Space ว่างๆ รอบโลโก้ไม่น้อยกว่า 2 นิ้ว ฯลฯ) นักออกแบบประจำนิตยสารก็จัดอยู่ในประเภทนี้เช่นกัน
         
Graphic Designer ประจำบริษัท หรือหน่วยงานต่างๆ เรียกอีกอย่างว่า In-House เป็นนักออกแบบที่มีสังกัดแน่ชัด องค์กรใดองค์กรหนึ่ง แบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง หรือเครือใดเครือหนึ่ง อันนี้จะค่อนข้างโฟกัสงานไปเลย ไม่มีความหลากหลายแต่ข้อดีคือ ไม่สับสน ทุ่มเทคิดถึง Product ตัวเองเพียวๆไปเลย คนที่เลือกทำกราฟิกในลักษณะเป็น In-House นั้น ควรจะเป็นคนที่ไม่ชอบความหลากหลาย เพราะเมื่อเป็น In-House ให้กับที่ไหนก็จะต้องวนเวียนออกแบบสิ่งนั้นไปตลอด อาจจะเปลี่ยนสื่อหรือเปลื่ยนการออกแบบ แต่ก็ไม่หนี Product เดิมๆ เช่น เป็น In-House ให้กับยาหม่อง ก็ต้องทำแต่ยาหม่องไปเรื่อยๆ อาจจะเป็นกล่องยาหม่อง โฆษณายาหม่องในหนังสือพิมพ์ ยาหม่องในแมกกาซีน ยาหม่องในเว็บ แต่ก็ยังคงเป็นยาหม่องตลอดเวลา (เข้าใจป่าวเนี่ย?) ไม่เหมาะเป็นอย่างยิ่งกับบางคนที่ไม่ชอบทำงานแบบเดิมซ้ำๆ กันเพราะจะเบื่อและพาลอยากเปลี่ยนงานเป็นที่เดือดร้อนของบริษัทไปซะอีก

 Art Director เป็นนักออกแบบประเภทนักคิด ไม่จำเป็นต้องเก่งด้านโปรแกรมออกแบบ*มากก็ได้ (*ในบางบริษัทนะ) แต่ ต้อง แม่นเรื่อง Concept และมีความคิดแหวกแนว โดดเด่น คิดนอกกรอบ ชอบคิดค้นหาไอเดียใหม่ๆมานำเสนอตลอดเวลา มักอาศัยอยู่ใน Advertising Agency โดยแบ่งความรับผิดชอบด้านไอเดียออกไปทำควบคู่กับ Copy Writer (แปลตรงตัวเลย - คนเขียนคำโฆษณา) เสร็จแล้วจึงส่งต่อให้ Graphic  Designer นำเสนอ Visual / Lay-Out หรือเขียน Story Board (สำหรับงาน TVC) ต่อไป
   
Animator นักออกแบบอนิเมชั่น หรือ ภาพเคลื่อนไหว (ส่วนใหญ่จะออกแนวการ์ตูน ดังนั้นผู้สนใจควรมีความสามารถในการเขียนการ์ตูน) ผู้ออกแบบงานประเภท Flash Animation ตามมือถือและเว็บไซต์ต่างๆก็รวมอยู่ในประเภท Animator เช่นกัน ในปัจจุบันวงการโฆษณาก็หันมาใช้ Animation ประกอบในหนังโฆษณามากขึ้น ในอนาคตนักออกแบบอนิเมชั่นคงจะเป็นที่ต้องการมากขึ้นในอนาคต สำหรับสตูดิโอที่ดังๆ ด้านนี้ คือ Kamtana Animation (ผู้สร้าง จ๊ะทิงจา กะ ก้านกล้วย นั่นแหละ) และ Vithita Animation (ผู้สร้าง ปังปอนด์ อนิเมชั่น - -นอกเรื่อง เดิมทีปังปอนด์เป็นเพียงการ์ตูนตอนหนึ่ง ต่อมาถีบตัวเองขึ้นมาฉายเดี่ยวและพัฒนาเป็นปังปอนด์อนิเมชั่นในที่สุด โอ...โตไวจริงๆ--) และสำหรับผู้ที่สนใจเรียนด้านนี้โดยตรงก็แนะนำให้ไปเรียนที่ คณะศิลปกรรมศาสตร์ ม.รังสิต ภาควิชา Computer Art จะดังสุดและมีเครื่องไม้เครื่องมือพร้อมใช้มากที่สุด
Motion Graphic Designer นักออกแบบภาพเคลื่อนไหว งงอ่ะดิ๊ ว่าต่างจาก Animator ตรงไหน ต่างกันตรงที่ Motion Graphic จะเป็นนักออกแบบที่ทำงานกราฟิกประกอบภาพยนตร์นั่นเอง บริษัทที่มีชื่อเสียงในด้านนี้คือ ฟีโนมีนา และแมชชิ่ง สตูดิโอ
   
Environmental Graphic Designer นักออกแบบกราฟิกในนิทรรศการและบูท รวมถึงการออกแบบตกแต่งภายใน-ภายนอกห้างหรืออาคารต่างๆ (นอกเรื่อง-อันนี้ก็เคยทำมาก่อนเข้าวงการโฆษณา) นักออกแบบประเภทนี้ควรอย่างยิ่งที่จะมีความรู้ด้านวัตถุสามมิติ Interior Design  Booth ด้วย ผู้ที่สนใจสามารถเลือกเรียนโดยตรงที่คณะศิลปกรรม จุฬาลงกรณ์ฯ ภาควิชานิทรรศการศิลป์ Illustrator / Digital Artist นักออกแบบภาพประกอบ (ทั้งหนังสือ นิยาย นิตยสาร) ยกตัวอย่างแบบเห็นภาพเลยคือคุณแป้ง-ภัทริดา ประสานทอง ถ้ายังนึกไม่ออกลองดูตัวการ์ตูนนี้
  
ใช่แล้ว! นักออกแบบภาพประกอบโดยส่วนใหญ่มักจะมีคาแรคเตอร์ภาพเป็นของตัวเอง มีสไตล์ ทักษะและเทคนิคที่โดดเด่นมากพอจึงจะมีงานต่อเนื่อง ลักษณะการทำงานจะทำแบบศิลปิน ไม่สังกัดบริษัท ไม่มีเวลาและสถานที่ทำงานแน่ชัด อาจจะไปนั่งสตาร์บัคส์แล้ววาดก็ได้ตามสะดวก ผู้มีใจรักงานด้านนี้ควรจะมีใจรับผิดชอบต่องานและตรงต่อเวลาเป็นที่ตั้งด้วย
 
Visualizer / Digital Artist  นักออกแบบประเภทตกแต่งภาพ (Retouch) จะทำงานตามที่กราฟิกหรือ AD กำหนดมาซะเป็นส่วนใหญ่ ลักษณะงานมีทั้งโปสเตอร์หนัง ภาพประกอบหนังสือ ภาพคนหรือแม้แต่ภาพโฆษณา โดยจะต้องมีความสามารถด้านโปรแกรม Photoshop ในระดับโครตเซียน (เหนือกว่าระดับคนทำ Graphic Design ทั่วไป) จะต้องสามารถสร้างภาพจากอากาศธาตุได้ เก็บรายละเอียดเนี้ยบ คนทำงานประเภทนี้ได้ค่าตอบแทนจะสูงมาก คิดเป็นภาพต่อภาพเลยทีเดียว (ที่ออฟฟิศจ้างรีทัชตกภาพละเกือบหมื่นเชียวนะ) แต่อาจจะต้องแลกกับการอดหลับอดนอน บริษัทที่มีชื่อเสียงด้านนี้คือ  Illusion, remix , Zone Retouch เป็นต้น
Freelance Designer นักออกแบบอิสระ มี 2 ประเภทคือ ทำเป็น Freelance จริงๆกับคนที่รับทำเป็นรายได้เสริมจากเวลางานประจำ (เรียกง่ายๆว่า "ฝิ่น") แบบหลังจะเหมาะสำหรับคนที่อึดจริงๆเท่านั้น เพราะจะต้องทำงานต่อเนื่องหลังเลิกงานประจำและอดหลับอดนอน (นี่ก็ประสบการณ์ตรง--คอนเฟิร์มเลยว่า 1.ต้องอึดจริงๆ 2.แฟนต้องเข้าใจหากไม่มีเวลาให้ ) ซึ่งอันนี้เป็นข้อได้เปรียบของคนที่ทำงานสายอาชีพนี้ กล่าวคือ สามารถทำงานคนเดียวได้ รับจ๊อบได้ เพราะมี Skill ที่ทำเงินได้ติดตัวตลอดเวลา

movie 3D

จับตาดู"หนัง3มิติ"ทำไมถึงฮิต?

เรียกได้ว่าช่วงนี้ตามโรงภาพยนตร์บ้านเรา ภาพยนตร์แนว 3 มิติ กำลังอินเทรนด์กันเลยทีเดียว ซึ่งก่อนหน้านี้ ส่วนใหญ่ เราจะเห็นภาพยนตร์ 3 มิติได้จากการ์ตูนแอนิเมชั่น จากหลายๆ ค่ายหนังของฮอลลีวู้ดที่ตอนนี้ล้วนแต่ร้อนฉ่า! เริ่มมีภาพยนตร์ 3 มิติที่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การ์ตูนแอนิเมชั่นอีกแล้ว

 แล้วภาพยนตร์ 3 มิติ จะต้องฉายในโรงพิเศษ บ้านเราจะมีโรงภาพยนตร์ 3 มิติกรุงศรีไอแมกซ์ ที่ตั้งอยู่ที่ชั้น 5 ศูนย์สรรพสินค้าสยามพารากอน ทั้งนี้หากเราดูหนัง 3 มิติด้วยตาเปล่า ก็จะเห็นเป็นภาพสองภาพ ที่ซ้อนกันอยู่ (ทำให้เวียนหัวดูไม่รู้เรื่อง) ดังนั้นจึงต้องมีอุปกรณ์เสริมคือ แว่นตา 3 มิติ แว่นตาชนิดนี้มีหน้าที่ ทำการแยกภาพเหล่านั้น เพื่อให้ตาซ้ายของผู้ชมเห็นเฉพาะภาพที่ฉายทาง “ด้านซ้าย” และตาขวาเห็นเฉพาะภาพที่ฉายทาง “ด้านขวา” ซึ่งทำให้สมองใช้ภาพทั้งสองสร้าง “ภาพ 3 มิติ” ที่ดูเหมือนว่ากระโดดออกมาจากจอภาพสู่โรงภาพยนตร์ ทำให้คนที่ดูภาพยนตร์ 3 มิติ จะรู้สึกเสมือนเป็นส่วนหนึ่งในเรื่องด้วย